大家都知道泰语的点心是“ขนม”,这也是日常生活里经常用到的一个词汇,那大家知道点心为什么是“ขนม”吗?这个词到底有着什么样的由来呢?今天我们就来给大家讲一讲!

ถ้าพูดถึงคำว่า “ขนม” คงจะนึกถึง “ขนมหวาน” ต่าง ๆ เหมารวมไปถึงขนมกรุบกรอบที่ขายตามร้านสะดวกซื้อทั่วไป ซึ่งคำนี้ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 บัญญัติความหมายไว้ว่า “ของกินที่ไม่ใช่กับข้าว มักปรุงด้วยแป้งหรือข้าวกับกะทิหรือนํ้าตาล, ของหวาน” 
如果谈到“点心”一词,通常会联想到各种甜点,包括在便利店出售的各种松脆的零食。根据2011年版的《皇家学术委员会词典》,这个词的定义是“非菜肴类食物,通常用面粉、米和椰浆或糖制成,甜点”。

แล้วทำไมคนไทยต้องเรียกสิ่งนี้ว่าขนม?
那为什么泰国人把点心叫做“ขนม”呢?

พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจรัสพรปฏิภาณ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสันนิษฐานไว้ว่า เหตุที่เรียกว่า “ขนม” มีที่มาจากคำว่า “เข้าหนม” ในสมัยก่อน โดย เข้า คือการเขียนแบบโบราณที่หมายถึง ข้าว ส่วน หนม แปลว่า หวาน รวมกันเป็นเข้าหนม นานวันเข้าก็มีการเปลี่ยนแปลงเสียงเป็น “ขนม”
四世王蒙固在位时期副王宾告的儿子认为“点心”一词源自以前的词语“เข้าหนม”,其中“เข้า” 意为米饭,是一种古代的叫法,而“หนม” 则是指甜。因此,“เข้าหนม” 组合在一起即表示甜食,随着时间的推移,发音逐渐演变为“ขนม”。

ขณะที่ ส. พลายน้อย ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ พ.ศ.  2553 มีความเห็นคล้ายกับกรมหมื่นจรัสพรปฏิภาณ โดยอธิบายคำนี้ไว้ในหนังสือ “ขนมแม่เอ๊ย” ว่า ในภาษาถิ่นแถบอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม และบ้านเซบั้งไฟ ในประเทศลาว ปรากฏคำว่า “หนม” ที่เป็นกิริยา หมายถึง นวด ส่วนพงศาวดารเมืองน่านเรียกขนมว่า เข้าหนม เหมือนกับภาษาไทยลื้อว่า “เข้าหนม”  จึงทำให้ ส. พลายน้อย สันนิษฐานว่าขนมก็น่าจะมาจากคำว่า “เข้าหนม” เช่นกัน 
2010年泰国国家文学艺术奖获得者Sor Plainoi的看法与上述说法类似。在他的著作《妈妈的点心》中,描述了在泰国那空拍府的塔帕农县及老挝的色邦非,人们使用词语“หนม” 作为一个动词,意思是按摩。而在北部的难府的传记中,人们称点心为“เข้าหนม”(Khao Nom),与傣仂语的“เข้าหนม”相似。因此Sor Plainoi也认为“ขนม”是来自“เข้าหนม”。

อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีข้อสันนิษฐานว่า ขนมอาจมาจากภาษามอญว่า “คนุม” หรือ “คนอม” ก็เป็นได้  แม้จะไม่รู้แน่ชัดว่าท้ายที่สุดแล้วคำว่าขนมมีที่มาจากอะไรกันแน่ แต่คำว่าขนมในปัจจุบันก็แปรเปลี่ยน จากเดิมที่เรียกแค่ ขนมหวาน ก็เหมารวมไปถึง ขนมขบเคี้ยว ขนมที่ไม่ได้มีรสชาติหวาน เป็นต้น
无论如何,仍然存在对于“ขนม”一词可能来自孟族的语言“คนุม”或“คนอม”的说法。虽然我们不能确定“ขนม”最终是源自于何处,但现代泰语中的“ขนม”一词的用法已经变化。从最初只指“ขนมหวาน”(甜点),已经扩展到包括各种零食和不带甜味的点心等等。
 

大家最喜欢吃哪种ขนม呢?

 

声明:本文由沪江泰语编译整理,素材来自silpa-mag,未经允许不得转载。如有不妥,敬请指正。