学习泰国历史或者是东南亚历史,尤其是史前历史的时候,一定绕不开“陀罗钵地”这四个字,很多小伙伴都会好奇它到底是什么?它在泰国历史上又有着怎样的地位呢?今天,我们就来带大家认识一下这个文明古国。

เป็นข้อถกเถียงกันมานานและยากจะหาข้อยุติ กับคำว่า “ทวารวดี” คืออะไรกันแน่?
“陀罗钵地”到底是什么?这是 一个争论已久并且难以有定论的问题。

“มติชนอคาเดมี” เคยจัดเส้นทางท่องเที่ยวเพื่อศึกษามุมมองว่า “ทวารวดี คืออะไรกันแน่?” กับทัวร์ “พลังศรัทธา…พุทธศาสน์ งานช่าง ทวารวดี” เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2562 โดย รศ.ดร.รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง จากภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร มาเป็นวิทยากรนำชมในครั้งนั้น ขอย้อนกลับไปฟัง รศ.ดร.รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง อธิบายปูพื้นเกี่ยวกับ “ทวารวดี” ให้เห็นภาพเป็นพื้นฐานด้วยคำอธิบายเข้าใจง่าย ดังนี้
Matichon Academy曾经在2019年8月24日组织过学习“陀罗钵地到底是什么”和“信仰的力量...佛教 工匠之作 陀罗钵地”的旅游线路,艺术大学考古学院历史艺术专业的副教授Rungroj Thamrungraeng博士是本次游览的介绍学者,接下来就让我们回到Rungroj Thamrungraeng博士关于“陀罗钵地”的讲解,通过简单的描述展示一些基 本画面。

“ทวารวดี” ได้คำตอบหรือยังว่าที่จริงคือออะไร?
有没有答案表明“陀 罗钵地”到底是什么?

คำว่า ทวารวดี จริงๆ แล้ว เรานิยามความหมายปัจจุบัน มีหลายนิยามความหมายมาก แต่ในแวดวงวิชาการทั่วไป เวลาพูดถึงทวารวดีเรากำลังหมายถึง กลุ่มวัฒนธรรมกลุ่มหนึ่งที่เกิดขึ้นในประเทศไทย และดูช่วงอายุอย่างคร่าวๆ คือตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 จนถึงราว พุทธศตวรรษที่ 16 เป็นช่วงที่เราเรียกช่วงทวารวดี นอกจากความหมายเบื้องต้นนี้แล้วอีกส่วนหนึ่งที่ยังคงเป็นปัญหาอยู่ มีผู้คนคิดว่า “ทวารวดี” เป็นชื่อบ้านเมืองด้วยหรือเปล่า
“陀罗钵地”这个词,实际上按照现代的定义,定义方法有很多,但是在学术界如果提到陀罗钵地,就指代了在泰国建立起的一种文明,从时间来看大致是在佛陀时代12世纪至大约16世纪 之间,叫做陀罗钵地时代。除了这样基本的定义之外,还存在有其他的问题,有人说“陀罗钵地”是不是一个国家的名字?

 ซึ่งแน่นอนว่าหลักฐานที่เราได้จากเอกสารจีนก็ดี หรือบันทึกต่างๆ นานา ก็ดี มันต้องเป็นชื่อบ้านเมืองนั่นแหละ แต่ว่าบ้านเมืองนี้จะใช้ระบบการปกครองแบบไหน? แบบมีศูนย์กลางที่เดียวอยู่ตลอดเป็นเวลาร้อยๆ ปี เหมือนกรุงศรีอยุธยา 417 ปี หรือเหมือนกรุงเทพฯ 236 ปี อันนี้ยังเป็นที่ถกเถียง และยังไม่ได้ข้อสรุป เพราะนักวิชาการบางคนมองว่าศูนย์กลางทวารวดีอยู่ที่ จ.นครปฐม บางคนมองว่าศูนย์กลางอาจจะเคลื่อนย้ายไปได้เรื่อยๆ ตามแต่ว่าผู้ปกครองเมืองไหนจะขึ้นมามีอำนาจมากกว่ากัน
不论是我们从文件上获取的资料也好,还是各种记录也好,它肯定是一个国家的名字,但是这个国家的统治形式是怎样的呢?是不是像阿瑜陀耶417年或者曼谷236年这 样的中央集权统治呢?这个问题还在争论,仍然没有定论,因为某些学者认为陀罗钵地的中心在佛统府,有些人认为这个中心根据权势的变动在不断转移。

ดังนั้น ในเชิงของการปกครองหรือว่านิยาม บางท่านก็มองว่าเป็นอาณาจักรมีกษัตริย์ขึ้นครองราชย์ บางคนอาจมองว่าเป็นกลุ่มบ้านเมืองที่มารวมตัวกัน แล้วสถาปนาใครขึ้นมาปกครอง พออำนาจคนนี้หมดไปก็มีคนอื่นของบ้านเมืองใกล้เคียงขึ้นมาแทน นี่คือคำว่าทวารวดีที่เราใช้กันอยู่ทุกวัน
因此,从统治的角度来看,有的人认为是有国王在位的王国,有的人可能会认为是许多小国组合在一起的实体,当某个人的权力消失之后就有附近其他的小国上位, 这就是我们现代使用的“陀罗钵地”。

 

ทวารวดีอยู่ในดินแดนไทย?
陀罗钵 地在泰国国土上吗?

อยู่ในดินแดนไทยแน่นอน เพราะ..1.เราพบจารึกบนเหรียญเงินที่พูดถึง “ศรีทวาราวดี ศวรปุณยะ”แปลว่า “บุญกุศลของพระราชาแห่งศรีทวารวดี” ซึ่งแสดงว่าทวารวดีนั้นมีจริงในประเทศไทย และยังมีจารึกบนฐานพุทธรูปที่วัดจันทึก อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา นี่คือหลักฐานที่พบในเมืองไทย ส่วนหลักฐานที่เจอนอกประเทศ เช่น หลักฐานที่เป็นบันทึกของพระภิกษุจีนจิ้นฮง ท่านไล่รียงชื่อดินแดนที่อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงมาทางใต้ของอินเดีย ว่ามีนามประเทศอะไรบ้าง ดินแดนอะไรบ้าง แต่ออกเสียงเป็นสำเนียงจีน ปรากฏว่าบ้านเมืองที่เขาเรียก “โถ โล โป ตี” มันอยู่ในจังหวะที่น่าจะอยู่ในพื้นที่ของประเทศไทยพอดี
肯定是在泰国国土上,因为我们发现了提到了“陀罗钵地国王恩泽”的银钱币,表明了陀罗钵地肯定在泰国,还在呵叻府北冲县出土了佛像底座的石碑,这是在 泰国出土的证据。至于在泰国之外发现的证据,例如,中国玄奘法师的记载,他列举了在印度东南部的一些国家的名称,但是发音为中文的发音,发现了他叫做“陀罗钵地”的国家,可能刚好是在泰国。

ฉะนั้น นักจารึกและผู้เชี่ยวชาญภาษาจีนโบราณเขาพยายามถอดเสียงว่าโถโลโปตี มันตรงกับอะไร ในที่สุดก็น่าจะเป็นทวารวดี ซึ่งสอดคล้องกับการเจอเหรียญเงินในประเทศไทย ฉะนั้น ทวารวดีอยู่ในเมืองไทยแน่ แต่ศูนย์กลางจะเป็นที่นครปฐมหรือบ้านเมืองอื่น เช่น อู่ทอง หรือบางคนบอกว่าลพบุรีไหม อันนี้เป็นข้อถกเถียงในเชิงรายละเอียด ส่วนความเห็นผม โดยส่วนต้วค่อนข้างให้น้ำหนักกับนครปฐมมากกว่าคนอื่น เพราะในเชิงความกว้างใหญ่ของเมือง ขนาดของโบราณสถาน ความหนาแน่นของโบราณวัตถุที่พบ นครปฐมมีมากกว่า
因此,通过石碑雕刻和中国古代专家学者的记载,出现了“陀罗钵地”的发音,它到底是什么?最终可能就是“陀罗钵地国”,和泰国出土的银钱币相呼应。所以, 陀罗钵地一定在泰国,但是中心是在佛统还是在其他地方,比如乌通或者有人说的华富里,这还需要更加细致地讨论。我个人的观点更加倾向于佛统,因为城市的面积、古迹的面积、文物出土的数量,佛统都要更胜一筹。

  

ทำไมต้องชื่อ “ทวารวดี”?
为什么要叫 “陀罗钵地”?

ทวารวดีแปลว่าอะไร? “ทวารวดี” เป็นชื่อเมือง มีปรากฏในพระไตรปิฎกส่วนที่เป็นพระสูตร แปลว่าเมืองที่ประกอบไปด้วยประตูและรั้ว และยังถือเป็น “นามมงคล” เพราะเป็นชื่อเมืองของพระกฤษณะด้วย ชื่อเมืองทวารวดี หรือ ทวารกา ฉะนั้น ชื่อเมืองต้นประวัติศาสตร์จะเอาชื่อบ้านเมืองในอินเดียมาตั้งเป็นชื่อบ้านเมืองตัวเองด้วย ไม่ได้หมายความว่ามีศูนย์กลางอยู่นอกประเทศไทย
陀罗钵地是什么意思?陀罗 钵地是国家的名字,出现在了三界经中,意思是有着门和篱笆的国家,还是一个吉利的名词,因为是Kṛṣṇa神城市的名字。因此,这个名字是由印度王国的名字借鉴而来的,并不意味着中心在泰国国外。
 

ทำไมจึงว่าเป็นดินแดนแรกเริ่มพุทธศาสนา?
为什么说是 佛教的初始之地?

ลักษณะของบ้านเมืองที่เจริญขึ้นในยุคต้นประวัติศาสตร์ของไทย เป็นช่วงแรกที่ดินแดนไทยเริ่มที่จะใช้ตัวอักษรเป็นเครื่องมือสื่อสาร ทีนี้เมื่อทวารวดีรับเอาวัฒนธรรมจากอินเดียเข้ามาประสมประสาน ส่วนหนึ่งคือรับเอาตัวอักษรเข้ามาใช้ด้วย และพร้อมๆ กับที่เขาใช้ตัวอักษรนั้นสิ่งที่เขารับมาพร้อมกัน คือวัฒนธรรม อารยธรรมในมิติอื่นๆ เช่น ระบบการปกครอง สถาบันพระมหากษัตริย์ เรื่องของพิธีกรรมต่างๆ และที่ปฏิเสธไม่ได้คือเรื่องศาสนาพุทธ ดูเหมือนคนทวารวดี จะยอมรับนับถืออย่างค่อนข้างเห็นได้ชัด เมื่อเทียบกับศาสนาพราหมณ์ จะเห็นว่าพุทธศาสนามีปริมาณความหนาแน่นที่มากกว่า
在泰国历史初期繁荣的王国,是泰国国土上最先使用文字交流的时期,陀罗钵地借鉴了印度的文明,其中一部分就是文字,和文字一同借鉴的就是文化和文明,比如 政治体制、君主专制和各种仪式,无法拒绝的就是佛教,和婆罗门教相比,看起来陀罗钵地人对佛教的认可度非常高,佛教在那里的密度非常大。

ดังนั้น เราอาจบอกได้ว่าโดยภาพรวมโดยเฉพาะอย่างยิ่งนครปฐม คูบัว เมืองหลักๆ ของทวารวดี นับถือพุทธศาสนามากกว่า และถ้าอนุมานจากตัวโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุที่พบ มีความละม้ายคล้ายคลึงในทางรูปแบบกับศิลปอินเดียที่อยู่ร่วมสมัยกัน แสดงให้เห็นเหมือนกันว่าพุทธศาสนาของทวารวดี น่าจะรับมาจากอินเดีย แต่ไม่ได้หมายความว่าศูนย์กลางพุทธศาสนาในบ้านเมืองอื่นจะไม่เกี่ยวข้อง โดยความเห็นส่วนตัว ผมว่าศรีลังกาในยุคอนุราธปุระอาจมีประเด็นความสัมพันธ์กับทวารวดี มากกว่าที่เราเคยวิจัยกันมา มากกว่าความรู้ที่เรามีกันอยู่ปัจจุบัน น่าคิดอยู่
因此,我们可能可以这么说,从总体上看,尤其是佛统、Khu Bua和陀罗钵地的主要城市中,更加信奉佛教,如果从考古遗址和发现的艺术品来看,和同时期印度的艺术风格很接近,表明陀罗钵地的佛教应该是源自印度,但是并不意味着和其他的佛教中心不发生联系。我个人认为,阿努拉德普勒时期的斯里兰卡可能和陀罗钵地有着比我们所知更多的联系。

 

这下你对陀罗钵地有了一定的了解了么?

 

声明:本文由沪江泰语编译整理,素材来自silpa-mag,未经允许不得转载。如有不妥,敬请指正。