朱拉隆功大学作为泰国首屈一指的高等院校,是很多人的梦中情校,但是不知道你有没有被它的泰语名字困扰过,明明泰语中都是先说大学,再说名字,但是朱拉隆功偏偏不遵循这个原则,看着颠三倒四,为什么会这样呢?这样命名是有什么特殊的含义吗?让我们一起来了解一下吧!

โดยทั่วไปสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยส่วนใหญ่แล้ว จะมีคำนำหน้าว่า มหาวิทยาลัย, วิทยาลัย หรือ สถาบัน แต่ทำไม จุฬาฯ จึงใช้ชื่อว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไม่ใช่ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ ซึ่งในครั้งนี้เราก็เลยได้หยิบยกรประวัติของ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ มาให้เพื่อนๆ ได้อ่านกัน
一般来说,泰国的大多数高等教育机构会以"มหาวิทยาลัย"(大学)、"วิทยาลัย"(学院)或"สถาบัน"(学院)作为前缀,但为什么朱拉隆功大学不是"มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์"呢?让我们一起了解一下朱拉隆功大学的历史 

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกของประเทศไทย ถือกำเนิดจาก "โรงเรียนสำหรับฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือน" ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งขึ้นภายในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2442 พร้อมทั้งพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญ "พระเกี้ยว" มาเป็นเครื่องหมายประจำโรงเรียน การดำเนินงานของโรงเรียนมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
朱拉隆功大学是泰国的第一所大学和高等教育机构。最开始是皇家公务人员培训学校,于1899年3月30日由泰王拉玛五世赐名,并在大皇宫内成立。泰王还批准将五世王的皇冠作为学校的校徽。学校的发展一直在持续不断 

จนกระทั่ง เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2459 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานนาม "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" เพื่อเป็นพระบรมราชานุสาวรีย์เฉลิมพระเกียรติแห่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมชนกนาถของพระองค์ ดังนั้นเพื่อให้เป็นไปตามพระประสงค์ จึงให้คงชื่อไว้สืบไป
直到1916年3月26日,泰王拉玛六世赐予学校名称朱拉隆功大学以此纪念泰王拉玛五世的卓著功勋。为了遵守这意愿,学校的名称至今保持不变 

ประวัติของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
朱拉隆功大学的历史

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกของประเทศไทย ถือกำเนิดจากโรงเรียนสำหรับฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือน โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งขึ้น ณ ตึกยาวข้างประตูพิมานชัยศรีในพระบรมมหาราชวัง เมื่อ พ.ศ.2442 และเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนมหาดเล็ก เมื่อ 1 เมษายน พ.ศ. 2445 เพื่อผลิตบุคลากรให้รับราชการ ซึ่งมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว
朱拉隆功大学是泰国 的第一所 综合性高 等教育 机构,原是皇家公务人员培训学校。该校由泰王拉玛五世亲自赐名,并于1899年3月30日建于大皇宫内Phimanchaisri门旁的大楼。后来于1902年4月1日改名为Rajawanlop皇家军事学院,旨在培养适合担任公务员的人才并得到了迅速发展。

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ภาคราชการและเอกชนต้องการบุคลากรทำงานในสาขาวิชาต่างๆ กว้างขวางมากขึ้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระอนุสรณ์คำนึงถึงพระบรมราโชบายในสมเด็จพระบรมชนกาธิราชที่จะ “ให้มีมหาวิทยาลัยขึ้นสำหรับเป็นสถาบันอุดมศึกษาของชาวสยาม” จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาโรงเรียนมหาดเล็กเป็นสถาบันอุดมศึกษา พระราชทานนามว่า “โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” เมื่อ 1 มกราคม พ.ศ. 2453
在泰王拉玛六世时期,政府和私营部门需要更多不同领域的专业人才。拉玛六世在考虑到拉玛五世“为暹罗人民建一所大学作为高等教育机构”的王室意愿,于1910年1月1日将Rajawanlop皇家军事学院更名为朱拉隆功国王公务员学校,将其确立 为一所综合性的高 等教育机  

ต่อมาทรงเห็นว่าควรขยายกิจการให้กว้างขวางตามพระราชประสงค์เพื่อให้เป็นพระบรมราชานุสาวรีย์อันยิ่งใหญ่และถาวรในสมเด็จพระบรมชนกาธิราช พระองค์จึงได้พระราชทานเงินทุนที่เหลือจากการที่ราษฎรได้เรี่ยไรเพื่อสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พระบรมรูปทรงม้าจำนวนเก้าแสนกว่าบาท ให้ใช้เพื่อสร้างอาคารเรียนและเป็นตึกบัญชาการบนที่ดินของพระคลังข้างที่จำนวน 1309 ไร่ อยู่ที่อำเภอปทุมวัน และเงินที่เหลือจากการสร้างก็ได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้เพื่อกิจการของโรงเรียนต่อไป ทั้งนี้ได้เสด็จพระราชดำเนิน และทรงวางศิลาพระฤกษ์ในการสร้างอาคารเมื่อ 3 มกราคม พ.ศ. 2458
随后,泰王认为有必要按照王室意愿扩大机构的业务,用以纪念泰王拉玛五世。因此用修建五世王骑马像余下的预算作为学校的资金,在位于Pathum Wan区的1309莱的土地上建造学校和军事指挥大楼。剩余的资金被授权用于学校的未来运营。在1915年1月3日,泰王亲自主持建大楼的奠基仪式 . 

ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริที่จะขยายการศึกษาในโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น คือ ไม่เฉพาะสำหรับผู้ที่จะเล่าเรียนเพื่อรับราชการเท่านั้น แต่จะรับผู้ซึ่งประสงค์จะศึกษาขั้นสูงให้เข้าเรียนได้ทั่วถึงกัน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐานโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ ขึ้นเป็น “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เมื่อ 26 มีนาคม พ.ศ. 2459 เพื่อเป็นพระบรมราชานุสาวรีย์เฉลิมพระเกียรติแห่งสมเด็จพระบรมชนกาธิราชให้เจริญก้าวหน้ากว้างขวางแผ่ไพศาลต่อไป โดยในช่วงแรกมีการจัดการศึกษาเป็น 4 คณะ ได้แก่ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์
在此后,泰王拉玛六世决定进一步推动教育事业的发展,扩大朱拉隆功国王公务员学校的影响力,使其不仅仅局限于为公务员培训提供服务,而是为那些追求高等教育的人们提供广泛的学习机会,因此,泰王亲自下令将其改名为朱拉隆功大学,并于1902年3月26日成立,以使泰王拉玛五世的意愿得以发展壮大。起初共有四个学院,分别是公共管理学院、医学院、工程学院、文学和科学院。

  • พ.ศ. 2459 – 2465 มีการปรับปรุงมาตรฐานการศึกษาระดับประกาศนียบัตร และการเตรียมการจัดการเรียนการสอนระดับปริญญา มีการติดต่อกับมูลนิธิร็อกกี้ เฟลเลอร์ เพื่อให้ช่วยเหลือการเรียนการสอนของคณะแพทยศาสตร์
  • 在公历1916年至1922年期间,进行了学位证书标准的改进,并筹备安排学士学位课程。同时,还与洛克菲勒基金合作,为医学院的教学提供支  
  • พ.ศ. 2466 – 2480 เริ่มรับผู้สำเร็จหลักสูตรมัธยมบริบูรณ์เข้าเรียนในคณะแพทยศาสตร์ และมีการปรับปรุงหลักสูตรและรับนักเรียนผู้จบประโยคมัธยมบริบูรณ์เข้าเรียนอีก 4 คณะ
  • 在公历1923年至1937年期间,开始接收完成中学课程的学生进入医学院学习并改进课程设置接收中学毕业的学生进入另外4个学院学习。
  • พ.ศ. 2481 – 2490 เริ่มเน้นการเรียนการสอนพื้นฐานของวิชาชีพในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยมีการจัดเตรียมมหาวิทยาลัยคือนักเรียนจะต้องเลือกเรียนตามคณะต่างๆ ที่มหาวิทยาลัยเปิดสอนทำให้เกิดโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขึ้น
  • 在公历1938年至1947年期间,开始重点关注高中阶段的职业基础教育,为大学教育做好准备。学生需要选择在大学开设的各个学院学习,从而促成了朱拉隆功大学的成立,成为一所综合性大学。
  • พ.ศ. 2491 – 2503 เป็นระยะเวลาของการขยายการจัดการศึกษาออกไป โดยเน้นระดับปริญญาตรีเป็นหลัก
  • 在公历1948年至1960年期间,教育事业持续扩展,重点放在本科学位教育上 
  • พ.ศ. 2504 จนถึงปัจจุบัน เป็นช่วงเวลาของการขยายการศึกษาระดับปริญญาตรี และเริ่มพัฒนาการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ส่งเสริมการค้นคว้า วิจัย การอนุรักษ์และสนับสนุนศิลปวัฒนธรรม และการบริการทางวิชาการให้แก่สังคม มีการจัดตั้งสถาบันวิจัย สถาบันบริการ ศูนย์ และสำนัก เพื่อให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัยและพัฒนาตนเองให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ทุกวิถีทาง ให้สมกับเป็นพระบรมราชานุสาวรีย์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราชของพสกนิกรชาวไทยตลอดไป
  • 从公历1961年至今,持续推进本科学位教育的发展,并开始发展研究生教育,促进探索、研究、保护和支持文化艺术,并为社会提供学术服务。成立了研究机构、服务机构、中心和办公室,使朱拉隆功大学可以在各方面都能最好地研究和自我发展,以实现泰王拉玛五世朱拉隆功大帝的愿景。

 

声明:本文由沪江泰语编译整理,素材来自sanook,未经允许不得转载。如有不妥,敬请指正。