关于泰国主体民族的起源,学术界有很多不同的说法,他们到底来自哪里?又是如何来到今天这片土地的?相信大家也或多或少了解过一些。今天,我们就来带大家再看看,泰国、泰族、泰语,这些“泰”在泰国学者眼中的起源。

文章带读:
(音频-可在沪江泰语公众号上收听)
朗读:(泰)ฟ้าใส

เริ่มมี “เมืองไทย” เมื่อไหร่? “คนไทย” มาจากไหน? แล้ว “ภาษาไทย” ล่ะมีกำเนิดมาอย่างไร? คำถามเหล่านี้มีผู้ให้คำตอบอยู่ไม่น้อย สุจิตต์ วงษ์เทศ ก็เป็นหนึ่งในผู้ที่ให้คำตอบดังกล่าว สุจิตต์ วงษ์เทศ อธิบายไว้ในบทความของเขาที่ชื่อ “ประวัติศาสตร์ไทยเป็นส่วนหนึ่งที่แยกไม่ได้ของประวัติศาสตร์สุวรรณภูมิ”  ซึ่งกองบรรณาธิการ นำเนื้อหาเพียงบางส่วนมานำเสนอดังนี้
“泰国”的起源是在何时?“泰族人”来自哪里?然后,“泰语”是怎么产生的?这些问题已经有不少人提供了答案,其中包括Sujit Wongthes。Sujit Wongthes在他名为《泰国历史是素万那普历史不可分割的一部分》的文章中做出了解释。部分内容如下:

ประเทศไทยมีประวัติศาสตร์หรือความเป็นมาทั้งของผู้คนและดินแดน เป็นส่วนหนึ่งที่แยกไม่ได้จากประวัติศาสตร์อาเซียนหรืออุษาคเนย์ ซึ่งบริเวณผืนแผ่นดินใหญ่มีชื่อเรียกเก่าแก่มาแต่ยุคดึกดําบรรพ์จนทุกวันนี้ว่าสุวรรณภูมิ
泰国作为一个国家,其历史与人民和土地的形成是与东南亚密不可分的。这片土地自古以来就被称为“สุวรรณภูมิ”(Suvannabhumi)。这个名字是在远古时代以前的时候就存在的。

อาเซียนอุษาคเนย์อยู่บนเส้นทางการค้าโลกอย่างน้อยตั้งแต่ ราว พ.ศ. 1000 โดยมีพื้นที่ส่วนหนึ่งของประเทศไทยเป็นดินแดนคาบสมุทร เสมือนสะพานแผ่นดินเชื่อมโยงโลกตะวันออก (มหาสมุทรแปซิฟิก) กับตะวันตก (มหาสมุทรอินเดีย) ในยุคที่เทคโนโลยีการเดินเรือทะเลสมุทรยังไม่ก้าวหน้า
东南亚在世界航海贸易的历史可以追溯到佛历1000年左右。在那个时候,泰国的一部分领土是半岛,是古代世界贸易路线上的一部分,就像连接东太平洋和印度洋之间的桥梁,当时海洋航行技术还未发达。

มีผลให้ผู้คน (ยังไม่เรียกไทย) และสังคมวัฒนธรรม (ยังไม่เรียกไทย) ทั้งในไทยและสุวรรณภูมิมีลักษณะหลากหลายร้อยพ่อพันแม่ผสมผสานปะปนอยู่ด้วยกัน ทั้งจากภายในกันเองระหว่างแผ่นดินใหญ่กับหมู่เกาะ และทั้งจากภายนอกที่มาจากตะวันออกและตะวันตก จนไม่มีสิ่งใดยืนยันได้แน่ว่าอะไรเป็นของแท้ๆ ไร้สิ่งเจือปน
因此让泰国和素万那普(当时还不称为泰族)的人们和文化社会融合了丰富多样的特点,这种融合的现象存在于泰国内部,包括大陆和群岛之间,也来自外部,包括东方和西方。因此,很难确认什么是纯粹的,没有混杂的元素。

เริ่มมีคนไทย, เมืองไทย ราวหลัง พ.ศ. 1700 มีการเคลื่อนย้ายและโยกย้าย อพยพครั้งใหญ่ของทรัพยากรและผู้คนจากลุ่มน้ำโขงลงลุ่มน้ำเจ้าพระยา อันเป็นผลจากการขยายตัวของการค้าโลกและการค้าภายในภูมิภาค จึงเริ่มมีคนไทยและเมือง ไทยอยู่บริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยา ยุคมืด, ช่องว่าง แต่ประวัติศาสตร์แห่งชาติของไทยไม่ยอมรับความจริงที่กล่าวมาทั้งหมดแล้วมองข้าม หรือทํามองไม่เห็นด้วยอคติทางชาติพันธุ์หรืออย่างใด อย่างหนึ่ง ซึ่งทําราวกับไทยตั้งอยู่ลอยๆ โดดๆ โดยไม่เกี่ยวข้องกับความเคลื่อนไหว ทั้งในภูมิภาคและในโลก ดังนั้น จึงมีสิ่งที่เรียกกันภายหลังว่ายุคมืด หรือช่องว่างของประวัติศาสตร์ไทย ระหว่าง พ.ศ. 1700-1800
自约佛历1700年后,开始有了泰族人和泰国。这是由于全球贸易和区域内贸易的扩张,导致了大规模的资源和人口迁移发生在湄公河流域到湄南河流域。然而,泰国国家历史不完全接受这些事实,忽视了历史的空白和变化,可能出于民族主义或其他观点的偏见。就好像泰国是个独立的区域,跟全球以及区域的各种动态都无关联。这导致了佛历1700-1800年之间被称为“黑暗时代”或“泰国历史的空白”。

เคลื่อนย้ายทรัพยากรและโยกย้ายอพยพผู้คน
资源的流动和人口的迁徙

ทรัพยากรและผู้คนจากลุ่มน้ำโขงถูกเกณฑ์ให้ทยอยโยกย้ายและอพยพลงลุ่มน้ำเจ้าพระยา สนองการขยายตัวของการค้าโลกราวหลัง พ.ศ. 1700 [อพยพ ในที่นี้ไม่ยกโขยงถอนรากถอนโคนเหมือนที่เคยเข้าใจตามประวัติศาสตร์ไทยชุดก่อนๆ แต่อพยพบางส่วน โดยส่วนใหญ่ยังอยู่ที่เดิม]
在约佛历1700年后,由于全球贸易的扩张,湄公河流域的资源和人口逐渐被要求逐步迁移到湄南河流域,以满足贸易扩张的需求[这不是像过去泰国历史教科书中所解释的所有的人和资源都被完全迁移,其实大部分人仍然留在原来的地区]

ลุ่มน้ำโขง หมายถึงบริเวณ พม่า, ไทย, ลาว แล้วต่อเนื่องไปทางทิศตะวัน ออกถึงภาคใต้ของจีน (พื้นที่กวางสี-กวางตุ้ง) และภาคเหนือของเวียดนาม (โดยเฉพาะ พื้นที่เมืองแถน ปัจจุบันเรียกเป็นภาษาเวียดนามว่าเดียนเบียนฟู)
湄公河流域指的是缅甸、泰国、老挝,并继续向东到中国南部(包括广西和广东地区)和越南北部的地区(尤其是今天被称为奠边府的地区)。

ลุ่มน้ำเจ้าพระยา หมายถึงฟากตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่สุโขทัย ลงไปสุพรรณบุรี, ราชบุรี, เพชรบุรี, นครศรีธรรมราช หลังจากนั้นถึงกระจายไปฟาก ตะวันออก เช่น ลพบุรี ฯลฯ
湄南河流域指的是湄南河从素可泰府向下流经素攀武里府、叻丕府、碧武里府、洛坤府,然后分支向东流经华富里府等地。

ความขัดแย้งในหุบเขา
山地民族的争夺

ขณะนั้นมีความขัดแย้งรุนแรงทางภาคใต้ของจีนแถบยูนนาน (เช่น กรณีน่านเจ้า) ส่งผลกระทบให้มีสงครามขยายพื้นที่กว้างขวางเกือบทั่วภูมิภาค คนกลุ่มต่างๆ ที่มีหลักแหล่งในหุบเขา บางพวกพากันเคลื่อนย้ายถ่ายเทหนี การรุกรานรุนแรงนั้น โดยใช้เส้นทางคมนาคมการค้าที่มีแต่เดิม แล้วมีการค้าภายใน พร้อมไปในคราวเดียวกัน และสืบเนื่องมาหลังจากนั้น บางพวกอยู่บริเวณลุ่มน้ำโขง แล้วถูกเรียกว่า สยามก๊ก (เสียมกุก) ก็เคลื่อนย้ายในคราวนี้ด้วย ผลของสงครามและการค้าทําให้มีบ้านเมืองน้อยใหญ่เกิดใหม่บนเส้นทาง เหล่านั้น เช่น สุโขทัย, สุพรรณภูมิ, ราชบุรี, เพชรบุรี, นครศรีธรรมราช
在当时,中国云南地区的南部(如南诏国等地)存在着严重的地区冲突,这导致了广泛的地区扩张,几乎涵盖整个地区。各个群体在山区有着自己的根据地,有些人选择迁移和逃亡。强烈的冲突通过原有的贸易线路传播同时出现了内部贸易,在那之后,一些人也选择在湄公河流域定居,被称为“สยามก๊ก”(Siamese Khek)。战争和贸易的影响导致了大大小小的城市在这些线路上兴起,例如素可泰、素攀武里、叻丕府、碧武里、洛坤府。

รัฐลุ่มน้ำเจ้าพระยา
湄南河流域政权

ฟากตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาเมื่อมีการเคลื่อนย้ายเข้ามาจากลุ่มน้ำโขง ขณะนั้นรัฐที่อู่ทอง (จีนเรียก กิมหลิน, จินหลิน แปลว่า แผ่นดินทอง) ลุ่มน้ำจรเข้สามพัน (อําเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี) ค่อยๆ ลดความสําคัญลง โดยไม่ร้างตามที่เคยเชื่อกันมา แล้วมีศูนย์กลางแห่งใหม่กําลังเติบโตขึ้นแทนที่ ซึ่งภายหลังรู้จักในชื่อรัฐสุพรรณภูมิ (เอกสารจีนเรียก เจนลีฟู) ริมแม่น้ำท่าจีน (อําเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี) ส่วนฟากตะวันออก ขณะนั้นรัฐละโว้ (อําเภอเมือง จังหวัดลพบุรี) ย้ายศูนย์กลางลงไปอยู่บริเวณอโยธยา (อําเภอเมือง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา) สมมุติเรียกว่ารัฐละโว้-อโยธยา ที่จะเติบโตเป็นกรุงศรีอยุธยาต่อไปข้างหน้า การเคลื่อนย้ายและโยกย้ายอพยพมิได้เพิ่งมีครั้งนี้เป็นคราวแรก แต่เคยมีมาก่อนนานมากตั้งแต่ยุคโลหะราว พ.ศ. 1 หรือ 2500 ปีมาแล้ว และมีต่อเนื่องมาไม่ขาดสาย ดังพบเครื่องมือสัมฤทธิ์, เหล็ก และประเพณีฝังศพครั้งที่สองในไทยจากแหล่งทางตอนใต้ของจีนและทางตอนเหนือเวียดนาม
​在湄公河流域的西部,当移民从湄公河流域迁移到这一地区时,原来在乌通县(中国称为金林,即“黄金之地”)和Chorakhe Sam Phan(位于素攀武里府乌通县)的重要性逐渐减少,不再像之前那样受人们所重视。取而代之的是新兴的中心,后来被称为Suphan Phum(中国文献称为金里甫),位于湄公河的边界,如在他钦河(位于素攀武里府直辖县)边上的城市。而在湄公河东岸,当时罗斛国(华富里府直辖县)的中心迁移到阿瑜陀耶(大城府直辖县)附近,可以称之为罗斛-阿瑜陀耶王朝,之后逐渐发展为下一个王朝——阿瑜陀耶王朝。这种移民和流动并非首次出现,早在佛历1年(约2500年前)左右的金属时代并不断延续,从中国南部和越南北部一带,就发现了泰国以前的铜、铁制工具和二次葬葬俗。

ไทย, ไท, ไต
Thai, Tai, Dai

ไทย หมายถึงคนพูดภาษาไทย และมีสํานึกร่วมทางประวัติศาสตร์ไทย แล้ว มีผลประโยชน์ร่วมทางเศรษฐกิจ-การเมือง และสังคม อยู่ในขอบเขตรัฐไทยอันเป็น ประเทศไทยปัจจุบัน โดยไม่จํากัดชาติพันธุ์ ไทยและคนไทยไม่ใช่ชื่อเชื้อชาติ เพราะไม่มีจริงในโลก ทั้งไม่ใช่ชื่อชนชาติมา แต่ดั้งเดิมดึกดําบรรพ์ แต่เป็นชื่อทางวัฒนธรรม เพิ่งสมมุติให้มีขึ้นบริเวณที่ราบลุ่มน้ำเจ้าพระยา ภาคกลาง ราวหลัง พ.ศ. 1700  คนที่เรียกตัวเองว่า ไท หรือ ไทย เพิ่งพบหลักฐานตรงๆ ราว พ.ศ. 2000 ในสมุทรโฆษคําฉันท์ และในจดหมายเหตุของลาลูแบร์ (ราชทูตฝรั่งเศส) ก่อนหน้านี้ไม่เคยพบหลักฐาน แต่มักเหมากันเองว่านั่นไทย นี่ไทย โน่นก็ไทย ไท, ไต ไม่แปลว่าคนไทย แบบเดียวกับความเข้าใจของคนในประเทศไทย ทุกวันนี้ แต่แปลว่า ชาว, คน มีใช้ในภาษาพูดของทุกชาติพันธุ์ในสุวรรณภูมิ ทั้งมอญ เขมร และไทย-ลาว เช่น ไตลื้อ หมายถึง ชาวลื้อคนลื้อ (ในสิบสองพันนาของจีน), ไทดํา หมายถึง ชาว ลุ่มน้ำดําคนลุ่มน้ำดํา (ในเวียดนาม ภาคเหนือ), ไทบ้าน หมายถึง ชาวบ้านคนบ้าน, ไทเวียงจัน หมายถึง ชาวเวียงจันคนเวียงจัน, ฯลฯ
“ไทย” (Thai)意指说泰语并有共同泰国历史文化意识的人,他们经济、政治和社会利益相关,居住在泰国国境内,即现在的泰国。不限种族或民族,“ไทย” 或“คนไทย”不是种族名,因为在世界上并不存在,最初也不是民族名,而是一种文化上的称呼,它被认为是约佛历1700年后在湄南河流域中部的平原地区出现的,自称为ไท(Tai)或 ไทย(Thai)。直到佛历2000年左右,在古代史书Samut Khot Khamchan和法国大使拉鲁贝尔闻见录中,才发现直接的证据。在此之前,并未发现任何确凿的证据,只是人们互相称呼,例如“นั่นไทย นี่ไทย”(这是泰国的,那也是泰国的)。"ไท"(Tai) 和 "ไต" (Dai)并不是指 "คนไทย(泰国人)"就像今天泰国人理解的那样,而是指" คน(人)" 或 "ชาว(人)",是在素万那普所有民族的通用口语。包括孟、高棉和泰-老等族之人,例如"ไตลื้อ" 意指泰泐人即泰泐之人(在中国的西双版纳人),"ไทดํา" 意指沱江人即沱江流域之人(在越南北部),"ไทบ้าน" 意指乡村人即乡村之人,"ไทเวียงจัน" 意指万象人即万象之人等等

 

ไทยน้อย, ไทยใหญ่
小泰族、大泰族

คนไทยในเมืองไทย (กรุงศรีอยุธยา) บอกว่าตัวเองเป็นไทยน้อย (ไม่ไทยใหญ่) ไทยน้อยอยู่ทางลุ่มน้ำโขง (ตะวันออก) เชื่อมโยงถึงลุ่มน้ำดํา-แดง ในเวียดนามแล้ว ต่อเนื่องถึงกวางสีและกวางตุ้งในจีน ไทยใหญ่อยู่ทางลุ่มน้ำสาละวิน (ตะวันตก) ในพม่า ไทยน้อยเป็นที่รู้จักทั่วไปว่าคือลาวสองฝั่งโขง เคลื่อนย้ายมาจากเมืองแถน ลุ่มน้ำดํา-แดง ในเวียดนามติดพรมแดนลาวทุกวันนี้ มีบอกในตํานานขุนบรม กับ นิทานกําเนิดโลกและมนุษย์ในพงศาวดารล้านช้าง
在泰国的泰族人(阿瑜陀耶)他们称自己为“ไทยน้อย”(小泰族)。"ไทยน้อย" 位于湄公河流域(东)直到在越南境内沱江-红河流域,然后一直延伸到中国的广西和广东。而“ไทยใหญ่”(大泰族)位于在缅甸的萨尔温江流域(西)。小泰族被普遍视为是湄公河两岸的老挝地区,他们从与老挝接壤的越南北部现奠边府、沱江-红河流域迁移而来。在Khun BorRom和澜沧编年史的传说中有所提及。

ภาษาไทย, อักษรไทย, คนไทย
泰语、泰语字母、泰国人

ภาษาไทย หมายถึง ตระกูลภาษาไทย-ลาว (ทางจีนเรียก ตระกูลภาษาจ้วง-ต้ง (จ้วงกับต้ง เป็นชื่อกลุ่มชาติพันธุ์พูดไทย-ลาว มีหลักแหล่งในกวางสี-กวางตุ้ง) มีหลักแหล่งเก่าสุดราว 3,000 ปีมาแล้ว อยู่บริเวณกวางสี
泰语归属于的是泰语-老挝语语族(在中国被称为壮-侗语族)(壮、侗是泰老挝语族群的名称,主要分布在广西-广东)其起源可以追溯到约3000年前,位于广西一带。

ภาษาไทย เป็นภาษากลางทางการค้าภายใน อาจเป็นเพราะอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงไปตามความต้องการของคนหลายชาติพันธุ์ (หรือด้วยเหตุอื่นใดอีก ยังหาไม่พบขณะนี้) ทําให้คนหลายกลุ่ม หลายเหล่า หลายเผ่าพันธุ์ ที่พูดตระกูล ภาษาต่างกัน เช่น มอญ-เขมร, ม้ง-เย้า, ชวา-มลายู, ฯลฯ ยอมใช้สื่อสารกันแทนภาษาของตน
泰语是内部贸易的通用语言,可能是因为它对不同种族的人适应性强(或者由于其他原因,目前还没有找到)。这使得将不同语言的许多不同群体、部族和种族,如孟-高棉、苗-瑶、爪哇-马来等愿意使用它代替自己的语言来进行交流。

อักษรขอมไทย สมัยแรกๆ ไม่มีอักษร เมื่อต้องใช้อักษรเป็นหลักฐานทางการค้า ก็พร้อมใจกันใช้อักษรเขมรที่มีมาก่อน (เรียกกันสมัยหลังว่า อักษรขอม) ใช้ถ่ายถอดภาษาพูดไทย-ลาว ทั้งในเรื่องทางศาสนาและทางการค้า
高棉泰语字母  在早期没有文字,当需要使用文字作为商业证据时,他们共同决定使用早期高棉文字(后被称为高棉字母)。这种文字被用来记录泰语-老挝语口语,用于宗教和贸易中。

จึงพบจารึกและใบลาน, สมุดข่อย จํานวนมากเขียนภาษาไทย ใช้อักษรเขมร แล้วเรียกกันสมัยหลังๆ ว่า อักษรขอมไทย
因此,大量的碑文、木牍和折页书被发现是用高棉字母书写泰语,后来被称为高棉泰语。

อักษรไทย
泰语字母

เมื่อมีอํานาจทางเศรษฐกิจ-การเมืองมากขึ้น ก็มีอักษรไทย ซึ่งวิวัฒนาการ จากอักษรเขมร (อักษรขอม) เพื่อถ่ายเสียงตระกูลไทย-ลาว ให้ครบตามต้องการ ใช้งานการค้าและอื่นๆ ต่อมาจึงมีวรรณกรรมราชสํานักเป็นภาษาไทย อักษรไทย ขณะนี้พบเก่าสุด ราวหลัง พ.ศ. 1900 ด้วยลีลาสําเนียงและ ฉันทลักษณ์ลุ่มน้ำโขง ที่เชื่อมโยงถึงผู้คน ชนเผ่าบนพื้นที่ภาคเหนือของเวียดนาม ต่อเนื่องภาคตะวันออกเฉียงใต้ของจีน
随着经济和政治权力的增加,泰国的文字也在不断发展演变。从早期高棉文字中,逐渐演变出适合泰国-老挝族群的泰语文字,以满足各种需求,包括商业和其他用途。后来,泰国开始有了以泰语书写的宫廷文学作品,泰语字母。目前所发现的最古老的泰语文字可以追溯到佛历1900年左右,有着湄公河流域在越南北部以及中国东南部的人们和民族的语音特点。

需要和大家说明的是,关于泰语的起源,目前学术界还有非常多的争论,今天为大家整理的文章也只是众多理论中的一种,大家可以作为参考哦!

 

声明:本文由沪江泰语编译整理,素材来自silpa-mag,未经允许不得转载。如有不妥,敬请指正。