“考大学”进高校学习——这似乎是不用多思考和怀疑的“人生必经”课题,而对于家庭的角度,其实已经学成或者在学的我们,似乎也比较少去关心家长和学费的问题。而近几年,不只是国内,在泰国和国际上,毕业后找不到工作的问题,在越来越多的影响到大家,于是会有不一样的矛盾议题爆出.....

“มหาลัย มหาหลอก เด็กชายบ้านนอก เด็กหญิงบ้านนา ร่ำเรียนรู้ในวิชา แต่จบออกมายังไม่มีงานทํา”
“大学成了骗学,寒门子弟苦学知识,但毕业了却没有工作能做。”

นี่คือท่อนเปิดติดหูของเพลง ‘มหาลัย’ โดยวงคาราบาวที่กลายเป็นหนึ่งในเพลงยอดนิยมตั้งแต่ พ.ศ. 2527 และยังคงร่วมสมัยจวบจนปัจจุบัน เพราะแม้จะผ่านมาร่วม 3 ทศวรรษ คนจำนวนไม่น้อยก็ยังคงกังขากับ ‘มูลค่าเพิ่ม’ ของการเรียนมหาวิทยาลัย ท่ามกลางปัญหาหนาหูเรื่องกองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา ที่ตั้งเป้าหมายเพื่อ ‘ให้โอกาส ให้อนาคต’ แต่กลับกลายเป็นสร้างลูกหนี้ที่พัวพันคดีนับแสนราย โดยมีอัตราการผิดนัดชำระหนี้สูงถึง 64 คน จาก 100 คน
这是Carabao乐队的歌曲《大学》开头的部分,这首歌自1984年以来一直是热门歌曲,并一直流行至今。尽管已经过去了30年,但仍有许多人仍然在怀疑大学教育的“附加价值”,同时还要面对着教育贷款的问题。原本旨在“提供机会,创造未来”的目标,却演变成产生十万计的债务案件,100个贷款人就有64个违约的。

ในสัปดาห์นี้ ผมจะขอชวนคุยกันต่อถึงประโยชน์ของการกระเสือกกระสนเรียนจนจบปริญญาตรี ว่าความจริงแล้วปริญญาดังกล่าวเป็นเพียงค่านิยม หรือเป็นใบผ่านทางสำคัญสู่การเลื่อนสถานะทางเศรษฐกิจและสังคม
本周,我想邀请大家一起讨论攻读本科学士学位的学习的益处。究竟这个学位是一种价值观,还是一张通往经济和社会晋升的关键证书呢?

หากย้อนกลับไปตอนสมัยเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6 การตัดสินใจเรียนต่อคณะหรือมหาวิทยาลัยใดนับว่าเป็นการตัดสินใจที่ไม่ต่างจากเดาสุ่ม ผมแทบไม่รู้เลยว่าจบไปจะมีงานทำไหม งานเป็นอย่างไร มีเงินเดือนมากพอที่จะเลี้ยงชีพหรือไม่ คนที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจมากที่สุดก็คือพ่อแม่ที่แนะนำคณะซึ่งพวกท่านมองว่ามั่นคง แถมยังเป็นผู้สนับสนุนค่าเล่าเรียนในระดับอุดมศึกษาเกือบจะ 100 เปอร์เซ็นต์
如果回到读高中的时候,要决定去哪个大学读哪个专业,几乎可以说是一种随机的决定,完全不知道毕业后会有什么样的工作机会、工作的性质如何、月薪是否足够维持生计。最影响决策的因素之一是父母的建议,他们会认为某些专业更为稳定,并且他们也是学费几乎100%的支持者。

ผมนับเป็นคนจำนวนหยิบมือที่โชคดี แต่คนส่วนใหญ่คงไม่ได้โชคดีแบบผมเพราะต้องดิ้นรนไปขอกู้ยืมเงิน อีกทั้งคนใกล้ตัวก็อาจให้คำปรึกษาได้ไม่มากนัก เพราะตนเองก็ไม่ได้เรียนสูง การตัดสินใจเรียนต่อจึงอาจอิงจาก ‘ความเชื่อ’ ว่าถ้าเรียนจบปริญญาตรีจะมีโอกาสทำงานและทำเงินมากกว่าวุฒิ ม.6 แต่ความเชื่อก็อาจไม่ตรงกับข้อเท็จจริงเสมอไป เพราะในบางสาขาวิชาที่จบจากบางมหาวิทยาลัยอาจไม่ได้ช่วยให้บัณฑิตหางานได้ง่ายขึ้น หรือมีรายได้เพิ่มขึ้นแต่อย่างใด โดยสิ่งเดียวที่ติดตัวมาจากรั้วมหาวิทยาลัย นอกจากปริญญาแล้วก็คือหนี้ก้อนใหญ่ที่ต้องหาทางใช้คืน จะดีกว่าไหม หากเรามีข้อมูลสำคัญในมือ เช่น อัตราการได้งานหลังเรียนจบ หรือเงินเดือนของบัณฑิตแต่ละคณะเพื่อประกอบการตัดสินใจเรียนต่อมหาวิทยาลัย
我可能算是为数不多的幸运儿,但大多数人可能没有像我这样的好运气,因为为了上学他们必须要去贷款。此外,身边的人可能也无法提供太多建议,因为他们自己也没有接受过高等教育。决定是否继续深造可能会依赖于“信念”,即如果完成学士学位,就有更多机会找到工作并获得比高中文凭更高的薪水。然而,这种信念可能并不总是符合事实,因为在某些专业领域,从某些大学毕业可能并不会使毕业生更容易找到工作或获得更高的收入。所带来的唯一确实影响毕业生的事物,除了学位之外,可能就是他们需要还清的大笔债务。如果我们提前获取一些重要的信息,比如就业率或各毕业生的平均工资,来辅助我们做决定,那可能会更好。

เรียนมหาวิทยาลัย ‘คุ้มค่า’ จริงไหม?
上大学真的“值”吗?

ความจริงแล้วการกู้เงินไปเรียนมหาวิทยาลัยเป็นการตัดสินใจที่มีความเสี่ยงสูงมากๆ เพราะนอกจากจะเป็นเงินกู้ก้อนใหญ่ตั้งแต่ยังไม่เคยทำงานหาเงินแล้ว เรายังหมดเวลาไปอย่างน้อย 4 ปีโดยแทบไม่มีโอกาสหารายได้ แต่การทุ่มทรัพยากรทั้งเงินทั้งเวลาก็ไม่ได้การันตีว่าจะประสบความสำเร็จเสมอไป นักศึกษาจำนวนไม่น้อยยอมแพ้ระหว่างทาง และต่อให้ได้ปริญญามาครอบครองก็ไม่มีใครรับรองได้ว่าจะสามารถหางานได้ หรือเงินเดือนมากกว่าเริ่มทำงานตั้งแต่จบ ม.6 คนจำนวนไม่น้อยมองข้ามความเสี่ยงดังกล่าวเนื่องจากค่านิยมที่ว่าต้องเรียนให้จบอย่างน้อยปริญญาตรี แต่ความจริงแล้วการดั้นด้นเรียนจบสูงๆ อาจไม่ได้ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตเสมอไป
实际上,通过借贷上大学是一个极其高风险的决策。除了面临巨额贷款的挑战外,我们还失去了至少4年的时间,而在这段时间里几乎没有机会赚钱。投入的金钱和时间并不能百分之百保证一定会取得成功,很多学生都会半路放弃,即使拿到学位也不能确保立即找到工作,或者薪水就高于高中毕业后就业的水平。许多人可能因为社会普遍认同至少拥有学士学位的观念而忽视了这种潜在的风险,但实际上,通过努力完成本科教育并不能百分之百确保提升生活质量。

นี่คือเหตุผลที่สภาคองเกรสของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นประเทศที่มีปัญหาหนี้สินการศึกษาหนักหน่วง ผลักดันให้มีการผ่านร่างกฎหมายความโปร่งใสของวิทยาลัย (College Transparency Act) เพื่อหวังเปิดเผยข้อมูลสำคัญอย่างอัตราการมีงานทำและรายได้หลังจากเรียนจบของแต่ละคณะในแต่ละมหาวิทยาลัย เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจศึกษาต่อของนักเรียน
这是美国国会推动通过“大学透明法案”(College Transparency Act)的原因。美国面临着严重的教育贷款债务问题,因此,国会倡导通过这项法案来公开大学的关键数据,包括每个学院毕业后的就业率和平均收入等信息,帮助学生的决策。

สาเหตุก็เพราะ ‘มูลค่าเพิ่ม’ ของปริญญาจะแตกต่างกันไปตามคณะและมหาวิทยาลัย ย้อนกลับไปเมื่อ พ.ศ. 2557 บริษัทวิจัย PayScale เผยแพร่การศึกษาว่าด้วยรายได้และต้นทุนค่าเล่าเรียนของบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยและสาขาวิชาต่างๆ เพื่อนำมาประมาณการผลตอบแทนทางการเงิน แน่นอนว่าเหล่าบัณฑิตจากรั้วมหาลัยไอวีลีกต่างก็ได้ผลตอบแทนทางการเงินเฉลี่ยที่สูงกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ต่อปี อย่างไรก็ตาม มีมหาวิทยาลัยจำนวนไม่น้อยที่ผลตอบแทนติดลบซึ่งสามารถตีความได้ว่าค่าเล่าเรียนที่ลงทุนไปจะไม่คุ้มค่ากับรายได้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากเรียนจบ
这也是因为不同专业和大学的学位的‘附加值’存在差异。回顾到2014年,研究公司PayScale发布的一项关于毕业生的收入和学费成本的研究结果,来预估本科教育的经济价值。当然,从常春藤盟校大学毕业的毕业生通常获得比平均水平高出10%以上的经济回报。然而,同样存在不少大学,其毕业生的金融回报为负数,这可以理解为他们投资的学费并未在毕业后的收入中体现。

สาขาวิชาเองก็ส่งผลค่อนข้างมาก โดยคณะที่เรียนจบยากเย็นและเป็นที่ต้องการของตลาดอย่างวิศวกรรมศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์จะมีผลตอบแทนที่สูงลิ่ว ขณะที่คณะชุบชูจิตใจอย่างศิลปศาสตร์หรือมนุษยศาสตร์อาจไม่ได้ทำให้บัณฑิตร่ำรวยแต่อย่างใด การศึกษาชิ้นดังกล่าวพบว่าปริญญาสาขาศิลปศาสตร์จากมหาวิทยาลัย 1 ใน 3 ได้ผลตอบแทนต่ำกว่าการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลเสียอีก
专业也会对结果产生相当大的影响。例如,毕业于工程学或计算机科学等难毕业但市场需求旺盛的专业的学生通常能够获得更高的回报。相反,毕业于人文学科等培养心灵的专业可能不会使毕业生变得富有。上述研究发现,来自某些大学的文学学位毕业生中有1/3的人的回报低于国债投资获得的收益。

แม้กฎหมายจะยังไม่บังคับใช้ แต่มหาวิทยาลัยเท็กซัสเดินหน้าเปิดเผยข้อมูลรายได้ของบัณฑิตแต่ละคณะอย่างโปร่งใสโดยไม่ต้องรอให้กฎหมายบังคับใช้ แถมให้รายละเอียดในระดับที่ค่อนข้างน่าประทับใจ โดยมีการระบุทั้งรายได้ในปีแรก ปีที่ 5 และปีที่ 10 หลังจากเรียนจบ อีกทั้งยังแยกให้เห็นบัณฑิตที่มีรายได้เฉลี่ยทั้งระดับน้อย ปานกลาง และสูง (25, 50 และ 75 เปอร์เซ็นไทล์) แถมยังระบุความสามารถในการชำระหนี้สินทางการศึกษาเมื่อเทียบกับรายได้อีกด้วย
尽管法律尚未强制执行,但得克萨斯大学已经积极主动地公开了各学院毕业生的收入数据,而无需等待法规的强制实施。而且,它提供了相当令人印象深刻的细节,包括毕业后第一年、第五年和第十年的收入。此外,它还将毕业生的收入水平分为低、中、高三个层次(25%、50%和75%),同时还详细说明了他们在偿还教育贷款方面的能力。

รายได้เฉลี่ยของบัณฑิตมหาวิทยาลัยเท็กซัสหลังจากเรียนจบ 1 ปีและ 5 ปี โดยจำแนกตามคณะ ภาพจาก Seek UT
得克萨斯大学各学院毕业生毕业1年和5年后的收入 图片来自Seek UT

ผมพยายามค้นหาสถิติลักษณะนี้ของมหาวิทยาลัยในไทย แต่น่าเสียดายที่หาเท่าไรก็หาไม่เจอ เพราะการเปรียบเทียบเช่นนี้คงเป็นเรื่องที่น่าสนุกไม่น้อย หลายคนอาจมองว่าการวัดมูลค่าเป็นตัวเงินเช่นนี้เป็นเรื่องไร้หัวใจ เพราะสาขาวิชาที่ไม่ได้ทำเงินมากมายอะไรอย่างศิลปศาสตร์หรือมนุษยศาสตร์ก็มีส่วนสำคัญในการนำพาอารยธรรมมนุษย์ให้ก้าวไปข้างหน้าอย่างรุ่มรวยและลุ่มลึก
我试图搜索有关泰国大学在这方面的统计数据,但很遗憾,无论我如何搜索都找不到,如果有这样的比较可能是一件相当有趣的事情。许多人可能认为,用这种货币化的方式来衡量价值是一种相对肤浅的观点。因为即使像人文学科这样的专业在金钱方面可能回报较低,它们在引领人类文明向前迈进方面仍然发挥着重要作用,充满了丰富的内涵和深度。

ผมน้อมรับในข้อจำกัดดังกล่าว แต่อยากให้ลองสวมหมวกของนักศึกษาที่ต้องกู้เงินก้อนใหญ่มาเรียนมหาวิทยาลัย เป้าหมายอันดับหนึ่งของพวกเขาย่อมเป็นการหาเงินให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้เพื่อมาใช้หนี้และยกระดับคุณภาพชีวิต หากปริญญาไม่สามารถตอบโจทย์นั้นได้พวกเขาก็อาจตัดสินใจไม่เรียนต่อตั้งแต่ต้น
我理解并接受这种想法,但希望大家能试着换位思考一下那些必须通过巨额贷款来支付大学学费的学生。他们的首要目标通常是尽可能多地赚钱,以便还清债务并提高生活质量。如果学位无法满足这个需求,他们可能会考虑从一开始就不学这种专业。

ว่าด้วยนโยบาย ‘มหาวิทยาลัยฟรี’
“免费大学”政策

ปัญหาหนี้สินทางการศึกษาทำให้หลายคนมองว่าต้นเหตุมาจากค่าเล่าเรียนมหาวิทยาลัย นำไปสู่การเรียกร้องให้รัฐบาลดำเนินนโยบายมหาวิทยาลัยฟรี ภายใต้สมมติฐานที่ว่าปริญญาจะเป็นใบผ่านทางเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า ผู้เขียนไม่ปฏิเสธว่าสมมติฐานดังกล่าว ‘โดยเฉลี่ย’ แล้วเป็นเรื่องจริง แต่อย่าลืมว่ามหาวิทยาลัยฟรีนั้นไม่ได้ ‘ฟรี’ จริงๆ แต่มาจากภาษีประชาชน
教育贷款问题导致许多人认为其根源在于大学学费的高昂,从而引发呼吁政府实施大学免费政策。这种呼声基于一种假设,即学位将成为通往更好生活质量的通行证。作者并不否认这一假设,因为它在一般情况下是成立的,但不要忘记,所谓的“免费大学”实际上并非真正的“免费”,而是由纳税人支持。

ภายใต้เงินงบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัด เราอาจต้องศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมว่าการเรียนมหาวิทยาลัยจะสร้าง ‘ผลตอบแทน’ ให้สังคมสูงหรือต่ำกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการลงทุนในด้านอื่นๆ เช่น การศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาสายอาชีพ การพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน การวางโครงข่ายสวัสดิการสังคม หรือระบบสาธารณสุข เพื่อตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิผล
在有限的预算范围内,我们可能需要深入研究,了解大学教育相对于其他领域的投资,例如基础教育、职业培训、劳动力技能发展、社会福利网络或公共卫生系统等,究竟对社会产生的“回报”是高还是低,以便能够做出更有效的决策。

ในกลุ่มประเทศโออีซีดี (Organisation for Economic Co-operation and Development: OECD) ซึ่งส่วนใหญ่คือประเทศพัฒนาแล้วพบว่าแรงงานวัย 25-34 ปีเรียนจบระดับอุดมศึกษาสูงถึง 43% หรือคิดเป็นเกือบสองเท่าตัวเมื่อเทียบกับราว 20 ปีก่อน อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีหลักฐานยืนยันว่าการมี บัณฑิตจำนวนมากจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจในภาพรวมอย่างไร
在经济合作与发展组织(OECD)成员国中,大多数是发达国家,研究发现,年龄在25至34岁之间的受过高等教育的劳动力占比达到43%,几乎是20年前的近两倍。然而,仍然没有足够的证据证实大量毕业生对整体经济产生积极影响。

การวิเคราะห์ข้อมูลแรงงานอเมริกันโดยนิตยสาร The Economist พบว่าสัดส่วนแรงงานที่เรียบจบระดับอุดมศึกษานั้นเพิ่มขึ้นอย่างมากในทุกสายอาชีพ แต่ค่าตอบแทนของอาชีพราวครึ่งหนึ่งกลับมีแนวโน้มลดลงหากปรับตามเงินเฟ้อ คงไม่ผิดนักหากจะสรุปได้ว่า การไปเรียนต่อในมหาวิทยาลัยของอเมริกันชนกลายเป็นสิ่งที่ต้องทำ ไม่ใช่เพียงแค่ทางเลือก
通过对《The Economist》杂志对美国劳动力市场数据的分析,发现高等教育毕业生在各行各业的就业比例都显著增加,但大约有一半的职业的薪酬趋势却呈下降趋势,尤其是在考虑通货膨胀的情况下。因此,可以得出结论:在美国,接受大学教育已经变成一种必然,而非仅仅是一种选择。

สิ่งหนึ่งที่หลายคนอาจหลงลืมไปเมื่อเรียกร้องนโยบายมหาวิทยาลัยฟรีคือ ทุกคนไม่ได้เกิดมาเป็นนักเรียน ต่อให้ไม่ต้องจ่ายค่าเล่าเรียนและการันตีรายได้ แต่ตราบใดที่เรียนไม่จบก็ไม่มีโอกาสสัมผัส ‘สิทธิพิเศษ’ ดังกล่าว สถิติในสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกาพบว่านักศึกษา 30-40% ตัดสินใจลาออกกลางคัน การทุ่มงบประมาณมหาศาลให้มหาวิทยาลัยฟรีจึงอาจไม่ได้เป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของทุกคนแบบเสมอหน้าอย่างที่เราเข้าใจ
在提倡大学免费政策时,有一点很多人可能会忽略,那就是并非每个人都是天生的学生,即使不必支付学费且有财务支持,但只要没有完成学业,就无法体验到所谓的“特权”。在欧盟和美国的统计数据中发现,有30-40%的学生决定辍学。因此,仅仅是投入大量预算让大学免费可能并不能平等地提高每个人的生活质量,这是我们需要理解的。

ตัวอย่างประเทศที่ได้รับการเชิดชูว่านโยบายการศึกษาดีเยี่ยมและมักถูกหยิบยกมากล่าวถึง คือกลุ่มประเทศในแถบสแกนดิเนเวียซึ่งเปิดให้เรียนฟรีจนถึงระดับอุดมศึกษา แต่หลายคนอาจไม่ทราบว่าประชาชนในประเทศเหล่านี้กลับไม่ได้มีอัตราการเรียนต่อและเรียนจบระดับอุดมศึกษาสูงอย่างที่คิดเมื่อเทียบกับอีกหลายประเทศที่มหาวิทยาลัยไม่ฟรี
被广泛认为实施卓越的教育政策并经常被提及的国家之一是斯堪的纳维亚地区,这些国家实行了免费高等教育政策。然而,许多人可能不知道,这些国家的公民在追求高等教育方面并没有表现得比其他许多没有免费大学的国家更积极。

ส่วนประเทศกำลังพัฒนาที่มีนโยบายมหาวิทยาลัยฟรีอย่างบราซิลและฟิลิปปินส์ก็มีการศึกษาพบว่านโยบายดังกล่าวเป็นประโยชน์กับคนรวยมากกว่าคนจน และไม่ได้ลดความเหลื่อมล้ำลงแต่อย่างใด
在一些发展中国家如巴西和菲律宾实施大学免费政策的研究表明,这一政策对富人更有利,而并未显著减缓社会不平等。

ผู้เขียนไม่ปฏิเสธว่าการเข้าถึงการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยอาจช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคนบางกลุ่มได้ แต่ถ้าเรากำลังมุ่งหน้าสร้างรัฐสวัสดิการและมองหานโยบายที่โอบอุ้มทุกคนอย่างเสมอหน้า โจทย์ของเราอาจไม่ใช่การให้ทุกคนมีปริญญา แต่เป็นคำถามว่าจะออกแบบนโยบายอย่างไรเพื่อให้กลุ่มคนยากไร้สามารถดำรงชีพได้อย่างสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และเหล่าแรงงานที่ทำงานอย่างขยันขันแข็งสามารถลืมตาอ้าปากได้โดยไม่จำเป็นต้องมีใบรับรองจากรั้วมหาวิทยาลัย
作者并不否认接受高等教育可能有助于提升某些群体的生活质量,但如果我们的目标是建立社会福祉并寻求一个公正的政策,我们面临的问题可能不是让每个人都拥有学位,而是设计出能够让弱势群体能够体面生活的政策,而不必过分依赖大学文凭。同时,勤奋工作的劳动力应该有机会过上无需过度依赖大学文凭的生活。


大家觉得我们的大学教育面临着什么样的问题呢?

 

声明:本文由沪江泰语编译整理,素材来自sanook,未经允许不得转载。如有不妥,敬请指正。