中华民族是筷子文化的创始人,是筷子使用的鼻祖,你作为其中之一,是否了解筷子的历史起源呢?它背后又蕴含着怎样的文化呢?一起来恶补吧。

"วัฒนธรรมตะเกียบ"
筷子文化

วัฒนธรรมในการกินอาหาร ของแต่ละชนชาติ มีความแตกต่างกัน ชาวยุโรปและอเมริกัน ใช้มีด และช้อนในการกินอาหาร แต่มีหลายชนชาติใน แอฟริกา อาหรับ และ เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น อินโดนีเซีย ไทย ฟิลิปปินส์ รวมทั้งอินเดีย นิยมกินข้าวด้วยมือ ในขณะที่ชาติในเอเชีย เช่น จีน ญี่ปุ่น เกาหลี และเวียดนาม ใช้ตะเกียบในการกินอาหาร และคนในชาติทั้งสามกลุ่มนี้ ต่างก็ยังคงรักษาวัฒนธรรมในการกินของตนไว้ได้เป็นอย่างดีจนกระทั่งถึงทุกวันนี้
每个民族的饮食文化不同,欧美人吃饭用刀勺;非洲的很多国家,东南亚的印尼、泰国、菲律宾和印度等国习惯用手抓饭,而亚洲其他国际如中国、日本、韩国和越南则用筷子。以上三类民族还保存着自己的饮食文化,直至今日。

วัฒนธรรมการกินทั้งสามแบบนี้ การกินอาหารด้วยมือกลับถูกมองว่าไม่มีวัฒนธรรม และอาจจะเป็นเพราะเหตุผลนี้ก็เป็นไปได้ ที่คนไทยยอมรับเอาวิธีการกินของชาวยุโรปมาใช้ในสมัยรัชกาลที่ 5 แต่รับมาเพียงแค่ช้อน-ส้อมเท่านั้น ไม่รวมถึงการใช้มีดเป็นองค์ประกอบร่วมด้วย และนับตั้งแต่นั้นมา ช้อน-ส้อม ก็เข้ามามีบทบาทสำคัญ ในวัฒนธรรมการกินของคนไทย
以上三种饮食方式中,用手吃饭不能称为文化。也许是因为从五世王时期开始,泰国人开始接受西方饮食方式,但是只使用叉和勺,而不用刀。从那以后,叉和勺开始在泰国的饮食文化中立足。

ตะเกียบนั้น เข้ามาในเมืองไทยเป็นระยะเวลานานกว่าช้อน-ส้อม แต่ไม่สามารถเข้าถึงในครัวของไทยได้ ช้อน-ส้อมซึ่งเป็น วัฒนธรรมการกินของชาวยุโรป กลับได้รับความนิยมมากกว่า และยิ่งในชนบทด้วยแล้ว ชาวบ้านไม่นิยมใช้ตะเกียบในการกินอาหาร ส่วนประเทศลาวซึ่งมีพรมแดนติดต่อกับจีน ก็ไม่ได้รับเอาวัฒนธรรมการใช้ตะเกียบของจีนมาใช้ แต่กลับนิยมใช้มือและช้อนในการกินมากกว่า
筷子进入泰国的时间比叉勺更长,但在泰国却得不到重用,而作为西方饮食文化一部分的叉勺则更受欢迎,特别是在一些乡下地区,人们不习惯用筷子吃饭。和中国接壤的老挝也没能接受中国的筷子文化,而是用手抓饭。

จากหลักฐานเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า ตะเกียบไม่ใช่เครื่องใช้ประกอบในการกินอาหารของชาวไทย และลาว เนื่องจากว่า ไทยไม่ได้รับเอาตะเกียบเข้ามาอยู่ในวัฒนธรรมการกินเหมือนกับช้อนและส้อม แต่ตะเกียบนั้นใช่ว่าจะไม่มีความสำคัญเสียเลยก็ไม่ได้ เนื่องจากว่าอาหารจีนได้เข้ามาแทรกอยู่ในวิถีชีวิตของไทยเราด้วย ซึ่งส่วนใหญ่จำเป็นต้องใช้ตะเกียบเป็นอุปกรณ์สำคัญในการกิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งก๋วยเตี๋ยวและบะหมี่ จนดูเหมือนกับว่า จะใช้ตะเกียบเพื่อกินก๋วยเตี๋ยวและบะหมี่เท่านั้น ดังนั้นถ้าจะกล่าวว่า ตะเกียบเป็นเพียงอุปกรณ์ประกอบ ในวัฒนธรรมการกินอาหารของคนไทย ก็คงจะไม่ผิดจากความเป็นจริงมากนัก
综上所述可以看到,筷子并非泰国和老挝饮食文化的一部分,因为泰国人没能像用叉和少一样将筷子应用在饮食中。但筷子也不是完全没有得到应用,随着中餐在泰国的盛行,大部分中餐都需要用到筷子,尤其是粉面类食品,以至于看起来,在泰国,筷子就是为粉面而生的,如果说筷子只是泰国饮食文化中的一种工具也不为过。

ตะเกียบมีบทบาทสำคัญ ในวัฒนธรรมการกินของชาวจีน นอกจากนี้ เกาหลี ญี่ปุ่น และเวียดนาม ต่างก็มีวัฒนธรรมการกินด้วยตะเกียบเช่นเดียวกัน ทั้งสามชาตินี้ต่างรับเอาวัฒนธรรมตะเกียบของจีนไปใช้ ด้วยการดัดแปลงและพัฒนา จนกระทั่งตะเกียบกลายเป็นวัฒนธรรมการกินประจำชาติของตนเอง ที่มีความผิดแผกและแตกต่างไปจากจีนซึ่งเป็นชนชาติผู้ให้กำเนิดตะเกียบ
筷子在中国饮食文化中扮演着重要的角色,,韩国、日本和越南也收到中国筷子文化的影响,这三个国家经过将筷子改良和发展,从而变成本国的特色文化,有别于筷子起源国——中国

ตะเกียบมาจากประเทศจีน
中国筷子

ตะเกียบ พร้อมหมอนรอง หนี่งผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล
一套:筷子配筷垫

ตะเกียบทำด้วย โลหะ จากประเทศเกาหลี
韩国的金属筷

ตะเกียบจากประเทศเดนมาร์ก
丹麦的筷子

ตะเกียบ ทำจาก กระดูกตัวจามรี จากทิเบต
西藏牦牛筷

ประวัติศาสตร์ของตะเกียบ
筷子的历史

ในสมัยราชวงศ์ถัง นักการศึกษาชื่อ ขงอิ่งต๋า ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญตำราคัมภีร์ขงจื๊อ มีชีวิตอยู่เมื่อปี ค.ศ. 574 - 648 ได้สนองรับคำสั่งของพระเจ้าถังไท้จง เรียบเรียง “ อู่จิงเจิ้งอี้ ” ( Wujing Zhengyi ) หรือ “ An Exact Implication of the Five Classics ” สำหรับใช้เป็นบรรทัดฐานในการสอบคัดเลือกคนเข้ารับราชการ เขาได้พูดถึงธรรมเนียมและมารยาทในการกินข้าวของคนจีนในสมัยนั้นว่า“ มารยาทการกินข้าวของคนโบราณจะไม่ใช้ตะเกียบ แต่ใช้มือ เมื่อกินข้าวร่วมกับคนอื่น ควรชำระมือให้สะอาดหมดจด อย่าให้ถึงเวลากินข้าวแล้วเอามือถูใบสน หยิบข้าวกิน เกรงจะเป็นที่ติฉินของคนอื่นว่าสกปรก ”
唐朝时,有个叫孔颖达(574-648)的人,是儒家学者,曾受唐太宗之命整理《五经正义》,作为科举考试的标准。他曾提到中国饮食文化和礼仪:“古之礼,饭不用箸(筷子),但(只)用手,既与人共饭,手宜絜(洁)净,不得临时始捼莎(两手相搓)手乃食,恐为人秽也。”

คนโบราณที่ ขงอิ่งต๋า กล่าวถีงคือคนในยุคขงจื๊อ จึงมีความเชื่อกันว่า คนจีนน่าจะรู้จักใช้ตะเกียบกันมา เป็นเวลานานมากกว่า 2,000 ปี ตะเกียบใช้สำหรับคีบผักต้มจากหม้อน้ำแกงมาไว้ในชามข้าว จากนั้นจึงเอามือหยิบข้าวกิน ถ้ามีใครใช้ตะเกียบพุ้ยข้าวเข้าปาก จะถือว่าเป็นการเสียมารยาทมาก สิ่งใดที่บรรพบุรุษสร้างไว้หรือกำหนดไว้ จะไม่มีผู้ใดกล้าฝ่าฝืน คนจีนจึงรักษาธรรมเนียมการกินด้วยมือ อยู่เป็นเวลานานหลายร้อยปี
孔颖达所说的“古”指孔子时代的人,所以普遍认为中国使用筷子的历史长达2000多年。那时候是用筷子将锅里的菜夹到碗里,然后再用手吃。那时候,用筷子将饭送进嘴里被认为是不礼貌的,前辈定下的规矩没人敢违抗,所以中国用手吃饭的习俗延续了好几百年。

จีนเริ่มใช้ตะเกียบตั้งแต่เมื่อใด ไม่มีหลักฐานปรากฏชัดแจ้ง แต่เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า คนจีนใช้ตะเกียบกินข้าวกันอย่างแพร่หลายหลังยุคราชวงศ์ฮั่น ประมาณในคริสต์ศตวรรษที่ 3 คนในสมัยนั้นเรียกตะเกียบว่า “ จู้ ” ( Zhu ) ต่อมาเปลี่ยนเป็น“ ไขว้จื่อ ” ( Kuaizi ) เหตุผลก็เป็นเพราะว่าชาวเรือ ถือคำว่า “ จู้ ” ที่ไปพ้องเสียงกับคำที่มีความหมายว่า “ หยุด ” ซึ่งไม่เป็นมงคลต่อการเดินเรือ จึงเปลี่ยนไปใช้ “ ไขว้จื่อ ” แทน “ จู้ ” คนแต้จิ๋วออกเสียง “ จู้ ” ว่า “ ตื่อ ” ( Del ) และในปัจจุบันก็ยังคงใช้กันอยู่ การที่คนจีนใช้ตะเกียบในการกินอาหารมาเป็นเวลานานนับพันปี จึงมีความรู้คำสอนไว้มากมายจนกระทั่งกลายมาเป็น วัฒนธรรมตะเกียบ ซึ่งมีตั้งแต่การจับตะเกียบที่ต้องพิถีพิถันกันมาก จนกระทั่งถึงข้อห้ามต่างๆ อาทิ เช่น
中国人何时开始使用筷子没有明确的记载,但是可以肯定的是,中国人开始使用筷子是汉代之后,大约是公园3世纪,那时候筷子被称为“箸”,后来才改为筷子,原因在于筷子与水手们所说的“住”(停止)同音,对出海航行来说不吉利,所以才改为“筷子”。潮州人将筷子叫做“Del”,并沿用至今。中国人用筷子有上千年的历史,所以衍生出了很多关于筷子的文化,如用快方式的讲究以及用筷子的各种禁忌等。

-ห้ามวางตะเกียบเปะปะ จะต้องวางให้เป็นระเบียบเสมอกันทั้งคู่ การวางตะเกียบไม่เสมอกัน ถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่เป็นมงคลอย่างยิ่ง คนจีนถือคำว่า “ชางฉางเหลียงต่วน ” ความหมายตามตัวอักษรนั้น หมายถึง สามยาวสองสั้น คำนี้ คนจีนมักหมายถึง ความตาย หรือความวิบัติฉิบหาย ดังนั้นการวางตะเกียบที่ทำให้เหมือนมีแท่งไม้สั้นๆยาวๆ จึงไม่เป็นมงคลอย่างยิ่ง ห้ามทำเช่นนี้เด็ดขาด
筷子不能乱放,筷子要放齐,不齐表示非常不吉利。中国有“三长两短”的说法,表示死亡或者灾难,将筷子像长短不一的木棍一样放着,是很不吉利的,绝对不能这么放!

-ห้ามใช้ตะเกียบชี้หน้าผู้อื่น หรือถือไว้ในลักษณะที่ให้นิ้วชี้ ชี้คนอื่นที่อยู่ร่วมโต๊ะ แต่การใช้นิ้วชี้ผู้อื่นคนไทยก็ถือว่า ไม่สุภาพเช่นเดียวกัน ไม่ใช่เฉพาะแต่คนจีนเท่านั้น
严禁用筷子对着别人的脸或者拿筷子的手的食指指着同桌的人。在泰国也是,用食指指着别人是不礼貌的,并非只有中国才如此

-ห้าม อม ดูด หรือ เลียตะเกียบ กิริยานี้เป็นเรื่องที่เสียมารยาทอย่างยิ่ง ถ้ายิ่งดูดจนเกิดเสียงดังด้วยแล้ว ถือเป็นกิริยาที่ขาดการอบรมที่ดี
严禁含、吸、舔筷子。这类动作是很失礼的,特别是吸筷子并发出声音,这将被认为是缺乏教养。

-ห้ามใช้ตะเกียบเคาะถ้วยชาม เพราะมีแต่ขอทานเท่านั้นที่จะเคาะถ้วยชาม เพื่อชวนให้เวทนาสงสาร เรียกร้องความสนใจให้บริจาคทาน
严禁用筷子敲碗碟,因为只有乞丐为了祈求怜悯才这么做

-ห้ามใช้ตะเกียบวนไปมาบนโต๊ะอาหาร โดยไม่รู้ว่าจะคีบอาหารชนิดใด ถือว่าเป็นกิริยาที่ควรหลีกเลี่ยง ควรใช้ตะเกียบคีบอาหารที่ต้องการนั้นทันที
不要举着筷子晃来晃去,不知道夹什么菜,想吃什么就直接夹。

-ห้ามใช้ตะเกียบคุ้ยหาอาหาร การกระทำเช่นนี้เปรียบเหมือน พวกโจรสลัดขุดสุสาน เพื่อหาสมบัติที่ต้องการ ถือเป็นกิริยาที่น่ารังเกียจ
不要用筷子翻来翻去,因为这很像掘墓人在坟墓中寻找宝藏的动作,这是很讨人厌的。

-ห้ามคีบอาหารให้น้ำหยดใส่อาหารจานอื่น เมื่อคีบอาหารได้แล้วจะต้องให้สะเด็ดน้ำสักนิด เพื่อไม่ให้น้ำหยดและอย่าทำอาหารที่คีบอยู่หล่นใส่โต๊ะ หรืออาหารจานอื่น การทำเช่นนี้ถือเป็นกิริยาที่เสียมารยาทเป็นอย่างยิ่ง
不要用筷子举着菜让水滴到别的碗里去,夹的时候先让水滴干,防止滴水。不要让夹起来的菜掉到桌上或者别的碗里去,这样是极不礼貌的。

-ห้ามถือตะเกียบกลับข้าง คือถือปลายตะเกียบขึ้น ใช้ช่วงบนตะเกียบคีบอาหาร กิริยานี้น่าดูแคลนที่สุด เพราะถือว่าไม่ไว้หน้าตนเอง เหมือนหิวจนไม่สนใจอะไรทั้งสิ้น
筷子不要拿反了,即用筷子尾部来夹菜,这种行为是最讨人嫌的,因为被认为是不给人面子,好像饿的什么都不管不顾了。

-ห้ามใช้ตะเกียบข้างเดียวเสียบแทงลงในอาหาร ถือว่าเป็นการเหยียดหยามน้ำใจกัน ไม่ต่างอะไรจากการชูนิ้วกลางให้ของฝรั่ง
严禁用一只筷子插在食物里,这是不尊重别人的表现,就好比对西方人竖中指一样不礼貌。

-ห้ามปักตะเกียบไว้ในชามข้าว เพราะดูเหมือนปักธูปในกระถางไหว้คนตาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าข้าวให้คนอื่นแล้วปักตะเกียบไว้ในชามข้าวส่งให้ จะถือว่าเป็นการสาปแช่ง
不要把筷子插在饭上。因为看起来像坛子里祭拜死者的香,特别是给别人盛饭的时候将筷子插在碗里,被认为是诅咒他。

-ห้ามวางตะเกียนบไว้กัน คนจีนในปักกิ่งถือว่าเป็นการไม่ให้เกียรติกัน ทั้งแก่ตนเองและเพื่อนร่วมโต๊ะ
筷子不要交叉放,因为北京人认为,这样是不尊重他人的表现

-ห้ามทำตะเกียบตกพื้น เพราะเสียมารยาทอย่างยิ่ง จะทำให้วิญญาณที่หลับสงบอยู่ใต้พิภพตื่นตกใจ ถือว่าเป็นสิ่งอกตัญญู จะต้องรีบเก็บตะเกียบคู่นั้นวาดเครื่องหมายกาก –บาท บนจุดที่ตะเกียบตกทันที พร้อมกับกล่าวคำขอโทษ
筷子不要落地,因为这很失礼,并将惊扰到地下的神灵。是不孝的表现,要立即捡起来在掉落的地方画十字,并道歉。

-วิธีถือตะเกียบที่ถูกต้อง จะต้องถือตะเกียบไว้ตรงง่ามนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้ ให้อีกสามนิ้วที่เหลือคอยประคองตัวตะเกียบไว้ และต้องถือให้เสมอกัน เมื่ออิ่มแล้วต้องวางตะเกียบขวางไว้กลางชามข้าวเสมอ.
使用筷子的正确方法:将筷子置于虎口处,用其他三个手指辅助,托住筷子,两根筷子要持平,吃饱后,筷子横放在碗口中间位置。

本双语文章的中文翻译系沪江泰语原创内容,转载请注明出处。中文翻译仅代表译者个人观点,仅供参考。如有不妥之处,欢迎指正。