ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ
抱佛潜水仪式


ประเพณีอุ้มพระดำน้ำเป็นประเพณีของชาวจังหวัดเพชรบูรณ์ที่มีความเชื่อถือศรัทธาต่อพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง คือพระพุทธมหาธรรมราชา ซึ่งปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่วัดไตรภูมิ
抱佛潜水是碧差汶府的习俗。当地人信奉该府的守护神——พระพุทธมหาธรรมราชา(现安放在draiphum寺)

จากตำนานเล่าสืบกันมาว่า ย้อนหลังไปประมาณ ๔๐๐ ปี ชาวประมงกลุ่มหนึ่งออกหาปลาบริเวณลำน้ำป่าสัก ซึ่งในสมัยนั้นมีปลาชุกชุมมาก วันหนึ่งเกิดเหตุการณ์ประหลาด ทั้งวันไม่สามารถจับปลาได้เลย และกระแสน้ำก็เกิดหยุดไหล มีพรายน้ำผุดขึ้นทีละฟอง และมากขึ้นตามลำดับ แล้วเปลี่ยนเป็นวังวนวงใหญ่และลึกมาก ปรากฏพระพุทธรูปองค์หนึ่งลอยจากใต้น้ำขึ้นมาอยู่เหนือน้ำ ชาวประมงจึงอัญเชิญขึ้นมาประดิษฐานบนบกให้ผู้คนทั้งหลายได้กราบไหว้บูชา และได้นำไปประดิษฐานไว้ที่วัดไตรภูมิ ซึ่งอยู่ทางทิศเหนือของตัวเมืองเพชรบูรณ์ เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องสมัยลพบุรีลักษณะงดงาม ชาวบ้านจึงขนานนามว่า พระมหาธรรมราชา
相传大约500年前,有一群渔民在柚木河捕鱼,那时这条河有很多鱼。一天,发生了一个奇怪的现象,一整天下来,渔民们都没捕到鱼,水也不流动了,水泡一个接一个地冒出来,并不断增多,后来逐渐演变成又大又深的漩涡,一尊佛像从水底浮出水面,渔民们把佛像请上岸供人们跪拜,后来安放在碧差汶府北部的draiphum寺,佛像身穿精美的华富里时期的服装,所以村民才将其取名为พระมหาธรรมราชา


บางตำนานก็เล่าว่า มีสามีภรรยาคู่หนึ่งไปทอดแหในแม่น้ำป่าสัก พายเรือจากบ้านไปเรื่อย ๆ จนถึงบ้านนาสารก็หาปลาไม่ได้ พอไปถึงวังน้ำลึกก็ทอดแหลงไป แต่ดึงแหไม่ขึ้น จึงดำน้ำลงไปก็พบพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามมาก จึงนำมาประดิษฐานที่วัดไตรภูมิ ปรากฏว่าประดิษฐานได้ปีเดียวก็หายไปจากตู้กระจก วันหนึ่งหลวงตารพราหมณ์ได้ไปทำทำนบกั้นน้ำ วิดปลาจนน้ำเริ่มแห้งขอด พอใกล้สว่างก็พบพระทองเหลืองอร่าม เป็นองค์เดียวกันกับพระที่หายไปจากวัดไตรภูมิ จึงอัญเชิญไปไว้ที่วัดอีก พระอาจารย์ที่วัดจึงไปหาหมอมาสะกดด้วยการตอกตะปูที่อุ้งพระบาท จึงไม่สามารถหลบไปได้อีก หากปีใดมีความแห้งแล้งเกิดขึ้น ก็จะทำพิธีบวงสรวงโดยยกเป็นศาลเพียงตาสามวันสามคืน หากต้องการให้ฝนตกตามฤดูกาล ก็อัญเชิญพระพุทธมหาธรรมราชาแห่รอบเมือง มีการสวดคาถาด้วยก็จะบันดาลให้ฝนตกตามฤดูกาลได้
另一个传说是,有一对夫妇到柚木河去撒网。从出门一直开船到米田村还一无所获,一到深水区是就把网撒下去,但是怎么拉都不能把网收回,于是潜下去,在水下看到了一尊金碧辉煌的佛像,后来就把它安放在了draiphum寺,才过一年,佛像就从玻璃盒中消失了。一天,寺里的robwrahm法师去拦河建坝,水快放干,天快亮时,看见一尊金碧辉煌的佛像,发现和消失的佛像是同一尊,就又把它请回寺中,寺里的主持请来法师在盒子上钉了钉子,才将佛像稳住。何年有旱情,就举行三天三夜的祭拜仪式。如果想按时节求雨,就抬着佛像绕城一周并诵经。


จากตำนานที่พระพุทธรูปได้หายไปจากวัดไตรภูมิถึง ๒ ครั้ง ดังนั้นจึงได้มีพิธีนำพระพุทธรูปไปดำน้ำป่าสัก ปีแรกมีการอุ้มพระพุทธรูปมาดำน้ำที่เกาะวังศาล ครั้งที่ ๒ ได้นำพระพุทธรูปมาดำน้ำที่วัดโบสถ์หรือวัดโบสถ์ชนะมารมาจนถึงปัจจุบัน
由于佛像从寺里消失了两次,所以才有抱佛像潜柚木河的习俗,第一年在宫岛潜水,第二次在วัดโบสถ์ชนะมารมา潜水,并流传至今。


พิธีอุ้มพระดำน้ำจะเริ่มจากการแห่พระวนรอบเมือง เวลา ๑๓.๐๐ นาฬิกา หลังจากทำพิธีแห่รอบเมืองแล้ว จะนำพระพุทธมหาธรรมราชาไปประดิษฐานในปะรำพิธีที่วัดไตรภูมิ เพื่อให้ประชาชนได้มากราบไหว้บูชา ปิดทอง ตอนค่ำจะมีการสวดมนต์เย็น ตกกลางคืนจะมีมหรสพและการละเล่นต่าง ๆ พอวันรุ่งขึ้นจะมีพิธีทำบุญวันสารท ชาวบ้านจะนำภัตตาหารมาถวายที่วัด มีข้าวกระยาสารทพร้อมด้วยเครื่องไทยธรรมต่าง ๆ จะมีพิธีอุ้มพระดำน้ำ มีการรำถวายบวงสรวงด้วยการฟ้อนชุดต่าง ๆ
13:00,抬着佛像绕城一周,之后放回draiphum寺里临时搭的帷幕里供大家拜祭,贴金箔。傍晚时分,将会有诵经仪式。午夜时分,会有其他娱乐活动,第二天一早,斋僧布施,村民会到寺里来斋僧,有各类食品以及各种礼品,通过舞蹈为抱佛潜水仪式献礼。


เมื่อได้ฤกษ์พิธีอุ้มพระดำน้ำ จะเริ่มด้วยการอัญเชิญพระพุทธมหาธรรมราชาลงบุษบกในเรือพิธี บริเวณที่จะอัญเชิญพระพุทธมหาธรรมราชาลงสรงน้ำที่ท่าน้ำวัดโบสถ์ชนะมาร ซึ่งเป็นวังน้ำลึก ผู้ที่รับหน้าที่อุ้มพระพุทธมหาธรรมราชาลงดำน้ำ คือผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ โดยอุ้มพระพุทธรูปลงดำไปยังก้นแม่น้ำ แล้วโผล่ขึ้นมา ทำเช่นนี้จนครบ ๔ ครั้ง ถือว่าเป็นสิริมงคล เชื่อกันว่าหากไม่ได้ทำพิธีอุ้มพระดำน้ำจะเกิดฝนแล้ง
时辰到时,将佛像从宝座上请下来,安放到仪式专用的、停放在วัดโบสถ์ชนะมาร的船里,那里是最深的水域。抱佛潜水的人必须是碧差汶府的府尹。府尹要抱着佛像潜到水底,并冒出来,如此反复4次才算吉利,如果没有举行这个仪式将会出现旱灾。

ภายหลังจากที่ได้ผ่านพิธีการอุ้มพระดำน้ำแล้ว ชาวเพชรบูรณ์ถือว่าเป็นน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ จึงกระโดดลงไปอาบน้ำหรือตักขึ้นมาดื่มกิน เสร็จจากพิธีอุ้มพระดำน้ำแล้ว ก็จะเริ่มการแข่งขันเรือประเพณีของจังหวัดซึ่งจัดเป็นประจำทุกปี
潜水过后,碧差汶人就会纷纷跳入水中洗澡,或打水喝,因为他们觉得这样的水是神圣的。接下来就是赛船。这是碧差汶府一年一度的活动。

本双语文章的中文翻译系沪江泰语原创内容,转载请注明出处。中文翻译仅代表译者个人观点,仅供参考。如有不妥之处,欢迎指正。

更多泰国风俗:
泰国风俗 — 搬沙入寺

泰国风俗之泰式过生日

感受泰国七彩文化