泰式的美食多种多样,去泰国旅行的朋友们除了要吃各种小吃和泰国人平日吃的主食外,不妨也尝尝泰国传统美食,穿越时空去体验一把或许会碰撞出不一样的灵感呀。

ถ้าใครเคยได้ไปเที่ยวเชียงใหม่ หรือจังหวัดทางภาคเหนือของประเทศไทย คงไม่ยอมพลาดโอกาสไปดินเนอร์ที่คุ้มขันโตกร้านดัง ๆ แน่นอน เพราะขันโตกถือว่าเป็นประเพณี และไฮไลท์ของการเยือนเมืองล้านนาเลยก็ว่าได้ วันนี้กระปุกดอทคอมจึงขอนำประวัติขันโตก ประเพณีมื้อเย็นของภาคเหนือมาให้คุณ ๆ ได้รู้จักกันมากขึ้น พร้อมแล้วก็ตามมาเลยจ้า
如果谁曾去过清迈或者是泰国北边的府可能都不愿意错过机会去有名的店铺体验Khantoke(一种用高脚托盘盛放菜碟)。因为高脚托盘式饮食算是一种传统,也可以说是兰纳时期的一个亮点。今天我们就来介绍下高脚托盘式饮食Khantoke的历史吧。泰北晚餐风俗习惯会让人之间加深彼此的认识,准备好了就跟上来吧。

   

แรกเริ่มเดิมทีสมัยก่อนชาวเหนือมักจะนิยมนั่งกินข้าวบนพื้น ซึ่งเป็นวัฒนธรรมการกินอาหารที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ แต่การวางอาหารบนพื้นโดยตรงอาจจะไม่เหมาะนัก ดังนั้นชาวล้านนาจึงคิดทำขันโตกขึ้นมาเพิ่มความสะดวกในการกินมากขึ้น โดยนำขันโตก หรือโตก (ภาษาล้านนาที่แปลว่าภาชนะสำหรับใส่อาหาร) ทำด้วยไม้ มีลักษณะกลมเหมือนถาด มีขาสูง มาทำหน้าที่คล้าย ๆ โต๊ะอาหาร จัดวางกับข้าวหลายชนิดลงไปให้ดูน่ากิน และพออิ่มหนำจากมื้อเย็นเรียบร้อยแล้ว ก็จะได้ยกขันโตกไปเก็บล้าง ประหยัดเวลา และสะดวกมากขึ้นด้วย
早期时候,泰北人民喜欢坐在地上吃饭,这是从祖先开始就传承下来的文化饮食习惯,但是直接把食物放在地上好像不合适,所以兰纳人民就想到做高脚托盘,这样会更加方便进食。由于采用木来做Khantoke(兰纳语翻译成装食物的器皿),它的托盘是圆的,有了高高的支脚后就像食物桌,将各种食物放下去看起来就更加诱人了。晚餐吃饱喝足了就可以举起高脚托盘拿去洗了,节约时间也很方便。

 

ทั้งนี้ขันโตกของแต่ละบ้าน แต่ละชนชั้นฐานะก็จะแตกต่างกันไป หากเป็นเหล่าคหบดี หรือคนที่มีฐานะและยศศักดิ์ อาจจะดัดแปลงทำขันโตกด้วยเงิน ทองกาไหล่ หรือลงรักปิดทองเพื่อความสวยงาม และนำขันโตกออกมาใช้เพื่อต้อนรับแขกที่มาเยือนเท่านั้น เนื่องจากหารจัดขันโตกในแต่ละทีจะต้องมีอาหารครบครันหลากหลายประเภท ซึ่งดูจะสิ้นเปลืองเกินไปหากจะจัดสำรับใหญ่เช่นนี้ทุกวัน
不同家庭,不同阶层人民用的高脚托盘也不一样。如果是有钱人家或者是有地位的人、当官的家里边,会用镀金镀银来改造高脚托盘,或者是为了美观涂上真金。为了欢迎来拜访的客人也会拿高脚托盘出来用。由于在高脚托盘里的每个部分都要备好各种各样的菜肴,要是每天都这样大肆操弄会很浪费。

 

ส่วนประเพณีขันโตกของชาวล้านนานั้นไม่มีประวัติที่ระบุวันและเวลาที่เกิดประเพณีขันโตกขึ้นมาเป็นครั้งแรก เพียงแต่ได้แค่สันนิษฐานกันไปว่า อาจจะมีมาตั้งแต่สมัยเนิ่นนานมาแล้ว และเกือบจะสูญหายไปในคราวหนึ่ง หากในปีพ.ศ. 2496 นายไกรศรี นิมมานเหมินทร์ นายธนาคารและนักธุรกิจใหญ่ของภาคเหนือ ไม่นำประเพณีขันโตกมาเลี้ยงส่งแขกผู้ใหญ่ และชาวต่างชาติเพื่อสร้างความประทับใจขึ้นมาอีกครั้ง และในครั้งนั้นเองชาวล้านนาก็ยึดถือเอาประเพณีขันโตกมาเป็นประเพณีการต้อนรับแขกบ้านแขกเรือนที่มาเยี่ยมเยียนนับตั้งแต่บัดนั้นKhantoke
这个风俗没有历史文献指出具体日子和第一次使用的时间,只有推测说可能很久很久以前就有了,大约也消失了一部分历史。据说在佛历2496年泰国北部的三个有名望的人本来没有打算用Khantoke这一传统作为大人物的饯别宴,但为了留下好印象让客人以后再来于是就在那次兰纳人决定要用这一传统来表达对客人的欢迎之意。

 

แต่นอกจากอาหารคาวหวาน เช่น น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกอ่อง ไส้อั่ว แคปหมู แกงฮังเล ลาบหมูคั่ว และผักสดแล้ว ถ้าอยากจะเข้าถึงประเพณีขันโตกจริง ๆ ก็ต้องสวมเสื้อม่อฮ่อม มองดูการแสดงฟ้อนเล็บไปพลาง ๆ ในขณะที่นั่งกินขันโตกไปด้วยนะคะ
但是除了可口的菜肴,比如辣椒酱、香肠、炸猪皮、缅式汤菜、凉拌炒猪肉和蔬菜,如果想体验正宗的Khantoke这一风俗,就要穿着泰北式系带开胸衫边看(清迈府)手指套舞边品尝高脚托盘里美食。

อย่างไรก็ดี ประเพณีขันโตกก็มีจุดมุ่งหมายอื่น ๆ นอกจากเพื่อต้อนรับแขกผู้มาเยือน เช่น ต้องการรักษาขนบธรรมเนียม ประเพณีอันดีงามของชาวล้านนา ฟื้นฟูการแต่งกายแบบพื้นเมือง การทำอาหารพื้นเมือง ส่งเสริมการท่องเที่ยว และส่งเสริมให้ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มขึ้นประเพณีดีงาม น่ารักอบอุ่น พ่วงความอร่อยเด็ดอย่างนี้ ก็น่าสนับสนุนและดูแลรักษากันต่อไปตราบนานเท่านานนะจ๊ะ
不管怎样,Khantoke这一风俗除了有对客人表达欢迎,还有别的目的。比如:保存兰纳人的优良传统;恢复本地特色服装;做当地美食促进旅游业发展,帮助当地人提高收入。这个优秀的传统很可爱,在温暖人心的同时还带来了美味,这些不可小觑的原因也会支持并保护这传统习俗到很久很久的以后。