ถ้าให้นึกถึงขนมหวานแบบไทย ๆ เชื่อได้ว่าทองหยิบ ทองหยอดคงจะเป็นขนมหวานอันดับต้น ๆ ที่ถูกนึกถึง และก็

ยังเป็นที่นิยมจนถึงทุกวันนี้ เพราะนอกจาจะเป็นขนมหวานที่แสนอร่อยแล้ว ก็ยังมีชื่อเสียงเรียงนามที่เป็นมงคลมาก ๆ จึงมักจะถูกนำไปเป็นขนมหวานในงานมงคลหลายต่อหลายงาน แต่เคยสงสัยกันบ้างไหมคะว่าเจ้าตำรับตำราของทองหยิบ ทองหยอดนั้นมาจากไหนและขนมหวานชนิดนี้มีอายุอานามเท่าไรกันแล้ว เอาล่ะ ถ้าอยากรู้เหมือนกันอย่างนี้ก็มาตามรอยทองหยิบ ทองหยอดไปพร้อม ๆ กันเลยดีกว่า
要是说到泰式甜点,我们第一时间想到的便是泰国拾金糕、金球。为什么拾金糕、和金球深受人们的喜爱?不仅是因为它们很好吃,还因为它们本身有着美好吉祥的寓意,所以拾金糕、金球常常会被用于一些重要的典礼。但是大家好奇过拾金糕、金球是怎么来的吗?是什么时候开始就深受大家的喜爱?好了,就不逗大家了,赶紧一起来看看吧!

ต้นกำเนิดทองหยิบ ทองหยอด
拾金糕、金球的来历

หลายคนอาจจะเข้าใจผิดว่าทองหยิบ ทองหยอดเป็นขนมไทยแท้ ๆ และมีกำเนิดมาจากความคิดของคนไทยร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ในความเป็นจริงแล้วทองหยิบ ทองหยอดเป็นขนมที่มีต้นตำรับมาจากประเทศโปรตุเกส แต่ที่กลายมาเป็นขนมหวานขึ้นชื่อของไทยเราได้ก็เนื่องมาจากในสมัยอยุธยา ประเทศไทยได้มีสัมพันธไมตรีกับชาวต่างชาติ และชาวตะวันตกมากขึ้น ก็เลยมีโอกาสได้รับเอาวัฒนธรรม และความเป็นอยู่ของชาวต่างชาติมาดัดแปลงใช้ในประเทศไทยด้วย ทั้งเรื่องวัฒนธรรมการแต่งกาย และอาหารการกิน ดังนั้นถ้าจะนับกันจริง ๆ ก็ต้องถือว่าคนไทยเรารู้จักทองหยิบ ทองหยอดมาตั้งแต่สมัยอยุธยาเลยล่ะค่ะ
多人可能以为拾金糕、金球是源于泰国,不仅仅是我们以为错了,连土生土长的泰国人都以为错了。实际上,拾金糕、金糕是来自葡萄牙,但最后演变成泰国大城时期著名的泰式甜点。泰国与外国人保持着良好的关系,所以泰国人有着这样的机会去学习外国文化,并把这样外来文化消化成自己的文化,例如服饰文化、饮食文化。要是去问泰国人,相信大部分人只知道拾金糕、金糕在泰国历史时期อยุธยา的时候就有了,却不知道是来自于葡萄牙。

เจ้าตำรับขนมหวานสีเหลืองทอง:เนื่องจากประเทศไทยเริ่มคบค้ากับชาวต่างชาติ จึงทำให้ท้าวทองกีบม้าหรือชื่อเดิมคือ มารี นินยา เดอ กีย์มาร์ ผู้มีเชื้อสายโปรตุเกส-ญี่ปุ่น และครอบครัวได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานในอยุธยา ภายหลังจากพวกซามูไรชุดแรกจะเดินทางเข้ามาเป็นทหารอาสา ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ต่อมามารีก็ได้เข้ารับราชการในพระราชวัง ในตำแหน่งหัวหน้าห้องเครื่องต้น และมียศตำแหน่งเป็นท้าวทองกีบม้า มีหน้าที่ดูแลเครื่องเงินเครื่องทองของหลวง แต่ในขณะที่รับราชการอยู่ในวังนั้น ท้าวทองกีบม้า ก็ได้ถ่ายทอดตำรับตำราอาหารจากประเทศโปรตุเกส โดยเฉพาะอาหารหวานจำพวกทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง และขนมผิง แก่บรรดาข้าราชบริพารและผู้หญิงที่ทำงานอยู่ภายในวัง จนในที่สุดตำรับการทำขนมทองหยิบ ทองหยอดก็แพร่กระจายในหมู่คนไทยโดยถ้วนทั่วจวบจนทุกวันนี้
由于当时泰国和外国人进行商贸,所以让ท้าวทองกีบม้า或者叫มารี นินยา เดอ กีย์มาร์ (中文名字:玛丽 圭马尔德品哈英文名是:Marie Guimar de Pinha,是Constantine Phaulkon的妻子,日本人)被葡萄牙人和日本人知晓,在泰国大城时期,他们家便迁徙泰国。起初,他们是作为日本武士中的志愿者来到泰国,踏上了พระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราช 国王的领土,之后玛丽进入了大皇宫,开始作为御膳房的负责人,专门负责国王的饮食和银器。虽然是玛丽是住在皇宫里面,但是她有机会可以学习到葡萄牙的的饮食文化,特别是葡萄牙的甜食,例如:拾金糕、金球、金丝片(或叫金丝条)、烘焙小糕点等等。在皇宫里工作的侍卫和侍女可以尝到玛丽做出的甜点,(他们觉得好吃后)便把制作拾金糕和金球的方法传入民间的泰国家庭。

 แม้ว่าทองหยิบ ทองหยอดจะไม่ได้มีเชื้อสายมาจากคนไทยแท้ ๆ แต่ก็เป็นขนมหวานที่อยู่คู่บ้านคู่เมืองของเรามาตั้งแต่สมัยอยุธยา คนไทยทุกคนจึงถือเอาว่าทองหยิบ ทองหยอดเป็นขนมไทยโบราณไปโดยปริยาย ซึ่งนอกจากจะรับประทานกันอย่างอร่อยลิ้นแล้ว ก็ยังมักจะนำไปเป็นขนม หวานในงานมงคลต่าง ๆ เช่น งานมงคลสมรส งานบวช งานวันเกิด และงานขึ้นบ้านใหม่ เพราะถือว่าชื่อขนมที่ขึ้นชื่อว่าทองต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง จะหมายถึงการหยิบเงินหยิบทอง สานต่อความร่ำรวยเงินทองต่อไปในภาคหน้านั่นเอง
无论是拾金糕还是金球,即使不是泰国人创造的,但是这两种甜点自从大城时期开始便形影不离。泰国人提到这两种甜品时,他们会解释到:拾金糕和金球是他们最原始的传统食物。拾金糕、金球不仅很好吃、还会被用于重要的庆典,例如:婚礼、佛节、生日宴会、迁桥宴等等。无论是什么样的甜品,如:拾金糕、金球、金丝条等等,只要带有“ทอง”(直译:金)字的就寓意着:财源广进、发财等

相关阅读:泰国宴会常见的9种泰式点心